[ตอน 0] [ตอน 1] [ตอน 2.1] [ตอน 2.2] [ตอน 3.1] [ตอน 3.2] [ตอน 4.1] [ตอน 4.2] [ตอน 5.1] [ตอน 5.2] [ตอน 6.1] [ตอน 6.2] [ตอน 6.3] [ตอน 6.4] [ตอน 7.1] [ตอน 7.2] [ตอน 8] [ตอน 9] [ตอน 10.1] [ตอน 10.2] [ตอน 11.1] [ตอน 11.2] [ตอน 12.1] [ตอน 12.2] [ตอน 12.3] [ตอน 12.4] [ตอน 13]
วันนี้ตื่นแบบสบายๆไม่เช้ามากนัก 8.26 น.ก็ออกมาทานอาหารเช้าที่ห้องอาหารโรงแรม บอกเลยว่าอาหารอร่อย และเป็นที่แรกที่มีไข่ดาว ทุกทีจะเห็นแต่ไข่ต้มตลอด เลยไม่พลาดที่จะตักไข่ดาวมาทานด้วย
ทานอาหารเสร็จก็เดินมาทางเดิม ผ่านตลาดขายผักผลไม้ ของสดๆทั้งนั้นเลย
ตรงนี้เป็นทางขึ้นเนินเพื่อจะไปยังจุตุรัสสุลต่านอาห์เหม็ด เห็นนักท่องเที่ยวคนนี้กำลังจากกระเป๋า 2 ใบก็อดไม่ได้ที่จะนึกถึงตัวเองที่เมื่อวานก็ลากขึ้นเนินมาแบบนี้หล่ะครับ ขำดี ลำบากลำบนมาก
เดินผ่านเสาโอเบลิสค์ 3 เสาแล้วมาเข้าทางเข้ามัสยิดสีฟ้าที่ทางเข้านี้ ซึ่งไม่เคยเข้าเลยนะครับ เป็นทางเข้าด้านข้างติดกับจัตุรัสสุลต่านอาห์เหม็ดนั่นเอง
ผ่านไปเรื่อยๆ จุดประสงค์คือเดินไปหาทางเข้าพระราชวังทปคึปึในเส้นทางใหม่ ผ่านอาคารนี้ครับ คือสวยมากก เป็น Hagia Sofia Mansions หรูหราแบบนี้น่าจะแพงเอามากๆ แต่ตกแต่งสวยงามจริงๆ
นี่ครับ ด้านหน้าทางเข้าพระราชวังฯ เรียกว่า Sultan Ahmet III Fountain
ณ เวลานี้ 9.25 น. คนรอคิวไม่เยอะเท่าไหร่ครับ ถึงเยอะก็ต้องต่อแถวแล้วหล่ะ เพราะไม่มีวันอื่นให้เข้ามาแล้ว จุดทางเข้านี้ไม่ใช่จุดขายตั๋วเข้าพระราชวังฯนะครับ เป็นแค่จุดตรวจสัมภาระเพื่อความปลอดภัยเท่านั้น แต่เล่นไม่ปล่อยให้เข้าต่อเนื่อง กั๊กไว้เป็นรอบๆครับ เลยจะเห็นแถวคนยืนรอค้างแบบนี้
พอเข้ามาแล้วก็เดินกันต่อไปอีก นี่ครับทางเข้าจริงๆ คล้ายๆปราสาทในการ์ตูนฝรั่งมั้ยเอ่ย จะเป็นลักษณะนี้ แต่จะบอกว่า ก่อนจะถึงประตูเข้าตรงนี้ มันจะมีเคาน์เตอร์ขายตั๋วทางด้านขวาก่อนนะครับ ให้ไปต่อแถวซื้อตั๋วก่อน ผมมองว่าการจัดการไม่ดีอ่ะ คือตอนแถวทางเข้าแรกมาแล้ว ต้องมาต่อแถวอีกเพื่อซื้อตั๋ว ซ้ำซ้อนมากๆ และตั๋วก็มีหลายแบบ ผมซ์้อแค่เข้าพระราชวังอย่างเดียว ไม่ได้เข้าฮาเร็มด้วย แค่นี้ก็ราคา 60 TL หรือใครคิดว่าจะเข้าทั้งหมด รวมพิพิธภัณฑ์ฯด้วยก็เอาแบบตั๋วรวมจะถูกกว่าซื้อแยกนะครับ จำราคาไม่แน่ชัด 85 TL มั้ง
เข้ามาข้างในจริงๆแล้ว ขอมาดูโมเดลพระราชวังกันเลย
ส่วนนี่คือแถวเช่าเสียงบรรยายในภาษาต่างๆครับ สบายใจได้ไม่มีภาษาไทย 555 ก็ไม่ต้องต่อแถวยาวๆไงครับ
ตรงนี้เหมือนจะเป็นพื้นแบบดั้งเดิมที่มีถังน้ำไว้ใช้ในสมัยก่อน ศตวรรษที่ 6 ในยุคไบเซนไทน์ ไม่ได้เทปูนทับ เลยกั้นพื้นที่ไว้ให้ระลึกถึงว่าสมัยนั้นพื้นเป็นแบบนี้นะ
หอคอยอาคารนี้สวยดี ถ่ายผ่านต้นไม้ 2 ต้น
ทางเข้าไปข้างในอีกชั้น จริงๆไม่น่ามีเก้าอี้วางไว้ทั้ง 2 ข้างของประตูเลย ทำให้มีคนมานั่ง แล้วเวลาถ่ายรูปจะไม่สวยเอาซะเลย
ตรงจุดนี้เขาบอกว่าเป็นจุดที่วางงานศิลปะศักดิ์สิทธิ์ไว้
เข้ามาจะเจอกับห้องที่เรียกว่า Private Audience Hall / Chamber of Pettitions ซึ่งสุลต่านจะเข้ามานั่งบนบัลลังก์ แล้วต้อนรับแขกต่างเมือง หรือฟังการสรุปเรื่องต่างๆจากสภา ข้างในห้ามถ่ายรูป เลยถ่ายได้เพียงก่อนเข้าไป
ออกมาก็คืออาคารนี้นั่นเอง
บริเวณนี้ก็จะมีที่ให้นั่งพักผ่อนก่อน มีทิวลิปสีแดงปลูกรอบน้ำพุสวยงามเลยครับ
แล้วก็เดินมามาตรงนี้ เหมือนเป็นจุดที่ไว้มาผ่อนคลาย ยืนชมวิวทะเล หลังจากเครียดจากงานการ
ได้เวลาเข้าไปด้านในอาคารตรงนี้ ไม่แน่ใจว่าที่เห็นอยู่นี้คืออะไร อยู่ตรงกลางห้องทีเดียว
โมเสคที่ตกแต่งผนังห้องสวยงามครับ
ไปต่อที่อาคารฝั่งนี้เลย
เช่นกันครับ ภายในมีโมเสคโทนสีฟ้าตกแต่งอยู่
ว่ากันว่า ห้องนี้มีกระเบื้องโมเสคสีฟ้าตกแต่งสวยที่สุดในพระราชวังแล้ว
ส่วนนี่วิวอีกอาคารนึงครับ อยู่ติดกัน ประตูจะเป็นโลหะทาสีทอง
เดินมาชมวิวรถรางที่กำลังแล่นบนสะพานกันบ้าง ที่เห็นอยู่จะมีสะพานอยู่ 3 สะพานด้วยกัน ใกล้สุดที่มีรถรางแล่นอยู่คือสะพานกาลาตา(Galata Bridge) สะพานที่ 2 คือสะพานฮาลิคเมโทร(Haliç Metro Bridge) เป็นสะพานที่ให้รถไฟใต้ดินแล่นข้าม และสะพานที่ 3 หลังสุดคือสะพานอาตาเติร์ก(Atatürk Bridge)
กลับมาชมอาคารกันต่อ ไม่แน่ใจว่าด้านหน้าคืออะไร มีอ่างรองน้ำจากก๊อกตรงกำแพงด้านหน้า ทำขอบทองสวยงามมาก
แล้วก็เข้ามาในห้องที่อยู่ตรงข้ามกัน
ความงามบนเพดานบ้าง
ลงมาก็เก็บภาพดงทิวลิปอีกจุด รอบน้ำพุ สีแดงขาว สวยๆ
เดินมาตรงนี้ เห็นเขาขึ้นไปดูอะไรกัน
อ้อ...นาฬิกาแดดนั่นเอง
มาตรงนี้ เป็นก๊อกน้ำและมีอ่างรองอีกแล้ว ไม่รู้ว่าสำคัญยังไง อ่านไม่ออก ไม่มีภาษาอังกฤษครับ
ด้านนี้กำลังปรับปรุงอยู่ น่าเสียดายจัง ดูจากภาพแล้วคือ The Conqueror's Pavilion Imperial Treasury เหมือนจะเป็นอาคารที่นำทรัพย์สมบัติของสุลต่านมาแสดง แต่ไหงทำไมต้องมาปรับปรุงตอนนี้หล่ะเนี่ย?
แล้วก็เดินออกมารับไอทะเลริมน้ำตรงนี้ครับ ด้านล่างจะเป็นร้านอาหาร แต่คาดว่าแพง ชมวิวอย่างเดียวละกัน
เป็นจุดที่สามารถชมวิวเรือแล่นข้ามทวีป จากฝั่งยุโรปไปฝั่งเอเชีย ซึ่งเมื่อวานผมนั่งเรือจากแผ่นดินที่อยู่ทางขวาคือฝั่งเอเชียมาแผ่นดินที่ยืนอยู่ตรงนี้คือฝั่งยุโรปนั่นเอง
เดินมาตรงลานนี้
ขอมาพักที่ม้านั่งใต้ร่มเงาต้นไม้ใหญ่ตรงนี้สักครู่ดีกว่า ดูคนเดินผ่านไปมา
เอาหล่ะ...ได้เวลาเดินสำรวจอีกครั้ง เป็นโถงไว้สำหรับทำอะไรก็ไม่ทราบได้ครับ หรือจะเป็นห้องประชุม?
มาชมเพดานกัน สวยงามสไตล์แขก
และก็เดินเข้ามาห้องนี้ เป็นห้องสวดหรืออะไรสักอย่าง แต่ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงเข้ามาครับ คนเลยไม่ค่อยมี
กลับมาดูตรงนี้กันบ้าง มีชื่อว่า The Target Column สร้างในปี 1791 เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้กับเซลิม III ที่ใช้ไรเฟิลยิงกาในระยะ 898 เมตร
มาเข้าห้องนี้กัน ที่เก็บชุดเกราะ ซึ่งเป็นทรัพย์สมบัติด้านนอก Collection of Arm and Armour(Outer Treasury) และห้องอื่นๆบริเวณนี้อีกหลายห้องที่ห้ามถ่ายรูป ผมจะบอกว่า คนตุรกีเองนิสัยไม่ดีเรื่องการละเมิดกฎนะครับ ภาษาก็เป็นภาษาตัวเองแจ้งไว้ชัดเจน ก็ยังถ่ายรูปโดยใช้มือถือ ถ่ายมันทุกอัน ทุกชิ้น ขนาดเจ้าหน้าที่มาบอก ก็ทำเป็นหยุดไม่ถ่าย แล้วพอเจ้าหน้าที่เดินไปก็กลับมาถ่ายอีก ไม่อายนักท่องเที่ยวคนอื่นเลย แถมมิหนำซ้ำยังพูดทำนองว่า ถ่ายได้เจ้าหน้าที่ไปแล้ว แล้สไม่ใช่คนเดียวนะ มีแบบนี้หลายคนเลย เฮ้อ....แย่มากๆครับ
หลังจากเข้าห้องที่ไม่อนุญาติให้ถ่ายรูปก็มาถึงห้องที่ถ่ายได้ครับ ห้องนี้เลย
หน้าต่างของสุลต่าน จะประดับด้วยทองบางๆไว้บนพื้นผิวโลหะ
ตรงนี้เป็นโถง
ลวดลายด้านบนเพดาน
แล้วก็เดินมาตรงนี้ เป็นทางเข้าฮาเร็ม แต่ผมไม่ได้ซื้อไว้ เลยไม่ได้เข้า แต่มาซ์้อทีหลังก็ได้นะครับ
อีกจุดที่เกือบจะพลาด เป็นทางเดินแล้วมีห้องอีกหลายห้อง แน่นอนว่าถ่ายภายในห้องไม่ได้ครับ มาดูกันเอาเองละกันเด้อ
จุดนี้เป็นศิลาจารึกอะไรสักอย่าง ไม่ทราบเหมือนกัน
เอาหล่ะ....จากประตูทางเข้าพระราชวังทปคึปึ จนมาถึง ณ ตอนนี้ ใช้เวลารวม 3 ชั่วโมง 30 นาที ก็ได้เวลาไปดูอย่างอื่นแล้ว แล้วมาติดตามกันต่อในตอนต่อไป จะพาไปชมพิพิธภัณฑ์โบราณคดีอิสตันบูล ซึ่งถ้ายังจำกันได้ เราจะไปตามหาหัวงูจากเสาโอเบลิสค์ที่ 2 ที่หายไปกัน
[ตอน 0] [ตอน 1] [ตอน 2.1] [ตอน 2.2] [ตอน 3.1] [ตอน 3.2] [ตอน 4.1] [ตอน 4.2] [ตอน 5.1] [ตอน 5.2] [ตอน 6.1] [ตอน 6.2] [ตอน 6.3] [ตอน 6.4] [ตอน 7.1] [ตอน 7.2] [ตอน 8] [ตอน 9] [ตอน 10.1] [ตอน 10.2] [ตอน 11.1] [ตอน 11.2] [ตอน 12.1] [ตอน 12.2] [ตอน 12.3] [ตอน 12.4] [ตอน 13]
เห็นว่าบทความนี้น่าสนใจ รบกวนกดแชร์ด้วยครับ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น