[ตอน 1] [ตอน 2.1] [ตอน 2.2] [ตอน 3.1] [ตอน 3.2] [ตอน 3.3] [ตอน 3.4] [ตอน 3.5] [ตอน 4.1] [ตอน 4.2] [ตอน 4.3] [ตอน 4.4] [ตอน 4.5] [ตอน 5] [ตอน 6.1] [ตอน 6.2] [ตอน 7.1] [ตอน 7.2] [ตอน 8]
แล้วก็มาถึงผลงานไม้แกะสลักสุดท้ายใน 3 ชิ้นที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ซึ่งก็คือ "แมวนอนหลับ"(Nemurineko) อยู่บนประตูซากาชิตะมง(Sakashitamon) ประตูทางฝั่งขวาของศาลเจ้า ทางที่จะขึ้นไปยังสุสาน Tokugawa Ieyasu ด้วยบันไดหินหลายร้อยขั้น
**แมวนอนหลับในความหมายของญี่ปุ่นหมายถึงความสงบ หรือสันติภาพนั่นเอง
พอผ่านประตูซากาชิตะมง(Sakashitamon) ก็จะเป็นทางเดินโล่งขนาบ 2 ข้างด้วยต้นไม้สูง ให้อารมณ์กำลังเดินอยู่ในป่า โดยช่วงนี้จะยังคงเป็นทางเดินในแนวราบอยู่ครับ
แล้วก็มาถึงจุดที่เปลี่ยนทางเดินจากแนวราบเป็นบันไดขึ้นเขากันแล้ว ค่อยๆเดินไปเรื่อยๆครับ จะเหนื่อยๆบ้าง ซึ่งก็หยุดพักกันได้
จุดนี้เป็นทางขึ้นบันไดช่วงสุดท้ายก่อนจะถึงด้านบนแล้ว ผ่านเสาโทริอิหินที่เห็นก็สบายแล้วครับ อดใจนิดนึง หอบแฮ่กๆเลย
ในที่สุดก็ถึงด้านบนแล้ว เย่.... อาคารนี้จะเรียกว่า Okumiyahaiden(奥宮拝殿)
แล้วก็เดินวนซ้าย(ทวนเข็มนาฬิกา) เห็นนกกระยาง(หรือเปล่า)ตัวนี้ ไม่เข้าใจว่าคืออะไร
และนี่ครับ สุสานTokugawa Ieyasu(徳川家康廟)
ได้เวลาลงจากเขาแล้ว อีกหนึ่งไม้แกะสลักที่สวยงาม เป็นรูปนกคู่กัน
ก่อนจะออกจากประตูโยเมมง(Yomeimon) มาชมศิลปะที่งดงามสลับซับซ้อนกันอีกครั้ง
ผ่านประตูโยเมมง(Yomeimon) มาก็เดินเลี้ยวขวาไปทางนี้ จะเจอกับ Yakushido(Crying Dragon) 日光東照宮 薬師堂(本地堂) ซึ่งจะมีภาพเขียนมังกรขนาดใหญ่บนเพดานของอาคาร ซึ่งไม่อนุญาตให้ถ่ายรูปครับ
ต้นไม้สูงใหญ่ที่อยู่ข้างๆ
13.29 น. ก็ได้เวลาออกจากศาลเจ้านิกโกะโทโชกุ(Nikkō Tōshogū Shrine 東照宮) กันแล้ว ใช้เวลาในศาลเจ้าโทโชกุนี้ 1 ชั่วโมง 15 นาทีด้วยกัน
ปล.รู้ในตอนนี้ว่า ไม่กล้องก็เลนส์ผมมีปัญหาแน่ๆ
หาทางไปพิพิธภัณฑ์นิกโกะโทโชกุไม่เจอ เลยไปถามเจ้าหน้าที่ เขาก็ชี้เส้นทางมา โอเคเดินมาถึงด้านหน้าพิพิธภัณฑ์แล้ว ด้วยบัตรที่ซื้อพ่วงมาด้วยตอนซื้อบัตรเข้าศาลเจ้านิกโกะโทโชกุ ก็หยิบมาแตะประตูทางเข้าไปชั้น 2 ที่เสียเงินได้เลย เนื่องจากในพิพิธภัณฑ์ไม่อนุญาติให้ถ่ายรูป เลยไม่มีรูปภาพมาให้ชมกันนะครับ
แล้วก็เดินต่อไปตามเส้นทางที่ฝั่งขวามือมีตะเกียงหินขนาดใหญ่วางอยู่เรียงรายจนถึงทางเข้าศาลเจ้านิกโกะฟุตะระซัง
ประตูโรมง(Romon) กับแผ่นหินสลักชื่อหน้าทางเข้า
อันนี้คืออะไรครับ เจอเมื่อผ่านประตูโรมง(Romon)ไปแล้ว
ผ่านอีกหนึ่งเสาโทริอิ ทางด้านหน้าศาลเจ้านิกโกะฟุตะระซัง ปิดปรับปรุงถ้ามองจากตรงนี้
ศาลเจ้านิกโกะฟุตะระซัง ถูกสร้างในปี 782 โดย Shodo Shonin พระในพุทธศาสนาผู้ซึ่งได้นำพระพุทธศาสนาเข้ามาในนิกโกะ ศาลเจ้านี้มีชื่อเสียงในการขอพรด้านความรัก
แล้วก็ซื้อบัตรผ่านเข้าไปข้างใน ตรงจุดที่เขาเปิดให้เข้าชมได้ ราคา 200 เยน
ภายในอาคารไม้ด้านซ้ายจากรูปบน 二荒山神社 神輿舎
เห็นเด็กญี่ปุ่นกำลังเล่นเสี่ยงทายโยนห่วงลงเสาอยู่พอดี
เดินมาอีกก็จะเจอกับบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ดื่มได้ครับ มีอยู่ 3 สายด้วยกัน
มีให้ลอดรูของต้นไม้ใหญ่ด้วยนะครับ ลอดแล้วคงจะโชคดี สังเกตด้านบนของต้นไม้มีรูปกิเลนติดอยู่ด้วย
มาที่ตรงเนินนี้ จัมีเสาไม้อยู่ตรงกลางและด้านล่างเสาไม้จะมีแผ่นไม้รูปหัวใจ ไม่แน่ใจว่าให้ทำอะไร เดาว่าให้เอาแผ่นหัวใจเล็กๆที่ตกลงด้านล่างปาไปให้ตรงแผ่นไม้รูปหัวใจ
แผ่นไม้เล็กๆรูปหัวใจ เขียนขอพรในเรื่องความรักแล้วปาไปที่แผ่นไม้หัวใจอีกที
แล้วก็เดินต่อไปยังสุสานไตยูอิน อยู่ไม่ไกลกันมากนัก
ยังจำกันได้มั้ยครับ ที่จุดแรกที่ผมไปซื้อบัตรผ่านเข้าไปยังวัดนิกโกะซังรินโนจิ แล้วมีพ่วงสุสานไตยูอินมาด้วย นั่นคือได้ใช้บัตรซะทีแล้วครับ ยื่นบัตรผ่านแล้วก็เดินมาตรงหน้าทางเข้าได้เลย
เทพปกปักษ์รักษาหน้าประตูทางเข้าแรก 日光山輪王寺 大猷院仁王門
อาคารสีแดงแรก(輪王寺大猷院番所)ทางซ้ายมือเมื่อเข้ามาภายในสุสานไตยูอิน
อีกหนึ่งทางขึ้นไปยังประตู 日光山輪王寺 大猷院 二天門 ต่อไป ทางขึ้นและประตูเยอะมาก เดินจนงง
เจออาคารแบบนี้อีกแล้ว เขาเรียกว่า 日光山輪王寺大猷院 鼓楼 ไว้ทำอะไรผมก็ไม่รู้แฮะ (หน้าเลนส์ไม่สะอาด ภาพเลยออกมาเหมือนมีอะไรปื้นๆ)
อีกหนึ่งบันไดทางขึ้นและประตู 日光山輪王寺大猷院 夜叉門 ที่สวยงามมากๆ
มีรูปอธิบายเทพที่ปกปักษ์รักษาประตูนี้ทั้ง 4 องค์ ด้านหน้าและด้านหลัง
ผมเลยถ่ายมาเก็บไว้ทั้งหมดเลย เอารูปรวมรวมไว้
แล้วก็มาถึงประตูสุดท้ายแล้วครับ มีชื่อว่า 日光山輪王寺大猷院 唐門 ที่ถ่ายเอียงๆเพราะถ่ายหน้าตรงไม่ได้มันจะย้อนแสงครับ และเมื่อเข้าผ่านประตูนี้ ข้างในจะเป็นเหมือนห้องสวดมนต์ ต้องถอดรองเท้าเข้าไป ห้ามถ่ายรูปเช่นเดิม สงบดีครับ
สมควรแก่เวลา ผมก็กลับลงมา ตอนเวลา 14.47 น. ก็เป็นอันจบวัดและศาลเจ้าทั้งหมดในโซนมรดกโลกนิกโกะกันแล้วครับ ถือว่าเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่มากๆครับ เดินกันขาลากเลย พื้นที่ครอบคลุมเนื้อที่เยอะมากๆ เดี๋ยวผมจะไปไหนต่อต้องมาติดตามกันตอนต่อไปครับ
[ตอน 1] [ตอน 2.1] [ตอน 2.2] [ตอน 3.1] [ตอน 3.2] [ตอน 3.3] [ตอน 3.4] [ตอน 3.5] [ตอน 4.1] [ตอน 4.2] [ตอน 4.3] [ตอน 4.4] [ตอน 4.5] [ตอน 5] [ตอน 6.1] [ตอน 6.2] [ตอน 7.1] [ตอน 7.2] [ตอน 8]
เห็นว่าบทความนี้น่าสนใจ รบกวนกดแชร์ด้วยครับ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น