[ตอน 0] [ตอน 1] [ตอน 1.5] [ตอน 2] [ตอน 2.5] [ตอน 3] [ตอน 3.5] [ตอน 4] [ตอน 4.5] [ตอน 5] [ตอน 5.25] [ตอน 5.5] [ตอน 5.75] [ตอน 6] [ตอน 6.33] [ตอน 6.66] [ตอน 7] [ตอน 7.5]
เส้นทางการเดินทางจากที่รถมารับเราไปจนถึงสนามบินบักโดกรา
ระหว่างทางเจอรถไฟทอยเทรนอีกแล้ววว อิอิ ที่เราออกเร็ว 10 โมงครึ่งก็เพราะว่า มีไฟล์ทบินเวลา 16.50 น. และต้องไปถึงก่อน 2 ชม.คือ 14.50 น. มีเวลา 4 ชม.ให้กับการเดินทาง และเผื่อเวลาแวะสถานที่ต่างๆด้วย
แวะตรงจุดที่เลยไปจากวัดเดลี จะมีจุดให้มองวิวตัววัดย้อนมา ก็ได้เห็นแบบเต็มๆอย่างนี้ครับ วัดนี้ โดยรวมไม่ได้ประทับใจอะไรเท่าไหร่เลย
ผมลืมเล่าไป หลังจากขึ้นรถแล้ว ผมแจ้งกับทางคนขับให้ทราบว่าเราต้องการแวะวัดกูม(Ghum Monastery) และสถานีรถไฟกูม(Ghum Station) คนขับก็ใจดีครับ พูดไม่มากนัก(สงสัยเจ็บคอ อิอิ) ตอบตกลงแต่แนะนำเราไปวัดอีกวัดนึงดีกว่าชื่อว่าวัด Yiga Choeling Monastery
ईगा चोएलिंग मोनास्ट्री เพราะเก่าแก่มากกว่าวัดกูม เราก็โอเค ตอนแรกยังคิดว่าจะไม่แวะให้เราซะอีก เพราะเหมือนจะในลักษณะแบบรีบๆขับไปส่งสนามบินแล้วกลับอะไรแบบนี้
เอาหล่ะ แกเองบอกเราว่า ทางเข้าวัดอยู่ตรงนี้ เพราะตอนแรกดูในแผนที่กูเกิ้ลมันเหมือนจะเลย ท้วงแกไป แกบอกว่าว่ายังไม่ถึง ซึ่งก็จริงๆ ที่เห็นคือวัดกูมครับ ไม่ใช่วัดเก่า ที่วัดนี้ทางเข้าแคบมากๆ ในรูปคือ รถมาเจ๊อะกัน ไปไม่ได้ครับ รถเราเลยต้องขับออกไปด้านซ้ายมือจะเห็นมีทางลงไปแคบๆก่อน รอให้รถที่จะสวนมาขับไปก่อน ถึงจะถอยรถแล้วขับไปตามทางเดิม แต่คนพวกนี้เขาชำนาญอยู่แล้วครับ แก้ปัญหาได้ปกติ แต่เป็นเราคงงงหาทางออกไม่ได้
แล้วก็ถึงแล้วครับ Yiga Choeling Monastery ईगा चोएलिंग मोनास्ट्री ไม่มีใครมาเลย สังเกตจากประตูเหล็กแบบกรงด้านในปิดอยู่
พอเรามา ทางลามะก็มาเปิดให้ครับ ด้านประตูทางเข้าด้านในอีกที นาฬิกาบอกเวลา 11.25 น.
ภายในครับ มีพระประธานอยู่ตรงหน้า ชื่อวัดเต็มๆคือ Dramang Che-Nyer Yiga Choeling Old Ghum Monastery สร้างเมื่อปี 1850 โดยลามะ Sherap Gyasto ซึ่งเป็นพระชาวมองโกเลีย เปรียบเสมือนโหราจารย์ที่มีชื่อเสียงแห่งทิเบต เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในดาร์จีลิ่ง อยู่ในนิกายเกลุกปะ
ปล. ถ้าจะถ่ายรูปภายในนี้เสียอีก 100 รูปีนะครับ ซึ่งไม่มีปัญหาอยู่แล้วครับ
ฮ่าๆๆ เพื่อนผมไปขอพรอะไรก็ไม่รู้
เดินเข้าไปไหว้ใกล้ครับ พระศรีอริยเมตไตรย งดงามตามแบบฉบับพุทธทางทิเบต
ด้านข้างองค์พระครับ
นี่คงเป็นตู้ใส่บทสวดมนต์หรือคัมภีร์มั้งครับ
ภาพจิตรกรรมอันงดงาม หรือจะเป็นเรื่องราวชาดกบนผนังโบสถ์ฝั่งซ้าย
มีพุทธศาสนิกชนมาไหว้อีก 1 คนครับ สังเกตมีกลองเก่าด้วยนะครับ
ส่วนนี่เป็นภาพจิตรกรรมอันงดงาม บนผนังโบสถ์ฝั่งขวามือครับ
ซูมไปชมพระพักตร์ใกล้ๆครับ ลายแกะสลักทางด้านหลังก็งดงามวิจิตรพิศดารไม่แพ้กันนะครับ มีมังกร 2 ข้าง และบนสุดน่าจะเป็นครุฑนะครับ
พระพักตร์ทางด้านขวาครับ ถือได้ว่าคุ้มมากๆนะครับที่ได้เข้ามาที่วัดแห่งนี้ วัดที่เก่าแก่ที่สุดในดาร์จีลิ่ง อายุ 168 ปีอ่ะครับ
และไม่นานก็ลาจากวัดกันครับ ตามที่เห็นก็รถติดอีกแล้ว ต้องถอยกันแอบๆกันให้วุ่นเลยครับ
ออกไปถนนใหญ่ก็สวนกับขบวนคนที่เดินสวนมา กำลังยกอะไรอยู่ ก็เดากันไม่ยากน่าจะเป็นโลงศพนะครับ คงทำพิธีเคลื่อนศพเป็นครั้งสุดท้ายตามประเพณีครับ
แล้วก็....มาถึงสถานีรถไฟกูมจนได้ครับ คนขับใจดีมากๆ อุตส่าห์ไปจอดรถแอบๆไว้ เพราะมันไม่มีที่จอดรถจริงๆ เขาเฝ้ารถอยู่ เราก็ลงไปที่ตัวสถานีครับ
รูปแบบตัวสถานีมันก็จะคล้ายๆกับสถานีดาร์จีลิ่งที่ไปมาเมื่อวานเลยครับ
ที่นี่คำว่า กูม ภาษาอังกฤษเขียน GHUM ไม่ใช่ GHOOM นะครับ ผมสงสัยตรงที่เครื่องหมายพวกขนส่งเช่น รถไฟ หรือรถบัสโดยสาร ทำไมมันเหมือนๆกัน คือกลมๆสีแดงและมีแถบสีน้ำเงินคาดเหมือนรถไฟในอังกฤษเลยแฮะ ในไทยขสมก.ก็ใช้คล้ายๆกันแบบนี้ อ้อ...อินเดียเคยเป็นเมืองขึ้นอังกฤษหนี่หว่า 555 โอเค จะเหมือนกันก็ไม่แปลกแล้ว อิอิ
เดินไปอีกฝั่งนึงแล้วถ่ายย้อนกลับมาครับ
แล้วก็เดินกลับไปขึ้นรถโดยเก็บภาพผนังอาคารสถานีสีแดงอิฐสวยๆไว้
ปล.ใครแปะโปสเตอร์ที่ผนังนี้ถือเป็นความผิดทางอาญานะครับ ระวังไว้
นั่งรถสักพักก็รถติดอีกแล้วฮะ ลุ้นว่าจะทันเวลาขึ้นเครื่องมั้ย?? อีก 10 นาทีเที่ยงก็น่าจะทันหน่าาา
ประมาณ 20 นาทีจากสถานีกูมก็จะผ่านวัดอะไรสักอย่างนึงครับ อ้อ....ผมไปค้นมาตามทางใน Google Map เจอแล้วครับ ชื่อวัด Sherpa Monastry อ่านข้อมูลมา สร้างในปี 1924 เสียดายไม่ทราบมาก่อนไม่งั้นแวะครับ
พระพุทธรูปองค์ที่เห็นด้านหน้านี้ เคยเห็นแล้วที่ลาดักห์นะครับ หน้าดูดุๆ แต่จำชื่อไม่ได้
แล้วรถก็มาติดอีกครั้งครับ
อ่า....ติดรถไฟทอยเทรนอันนี้หรือเปล่า??
อ้อ.......ที่จริงคือ มาเปลี่ยนหมุดรถไฟใหม่และทาสีกันสนิมที่รางรถไฟนั่นเอง คือ Preventive Maintenance ครับ อันนี้ต้องขอชื่นชม
แล้วก็ผ่านสถานที่ราชการที่นึง ชื่อว่า Office of the Block Developmental Officer หลังจากนั้นก็จะเป็นทางลัดครับ เป็นอีกทางนึงที่ลงเขาไปเส้นที่ไม่ค่อยมีรถวิ่ง
นี่ครับ ลุ้นๆว่าจะเร็วขึ้นมั้ย เพราะคนขับบอก ถ้าไปทางเดิมจะช้ามากๆ นี่ครับ XY คือพิกัดที่เปลี่ยนมาใช้ทางลัด ชื่อว่าถนน Montiviot Rd. ชมวิวภูเขากันไปสองข้างทางครับ
โดยรวมก็เร็วกว่าเดิมครับ สุดยอดเลยคนขับรถเรา
ทางโค้งและชัน อย่างกับแม่ฮ่องสอนเลยมั้ย 555
ไม่นานก็มาถึงที่ราบแล้วหล่ะครับ เวลา 13.13 น. เป็นไร่ชาตามเคย
แล้วก็เจอหลักกิโลเมตรบอกว่า Mirik อีก 25 กม. ที่ไหนวะ 555
อ่า....รถมาข้ามแม่น้ำสายนึง แล้วหยุดให้เราชมวิวครับ แต่ทำไมมันมี 2 ชื่อนะคือ สะพาน Dudhia และ สะพาน Panighata
ตอนนี้นำจะน้อยไปหน่อยนะครับ
แต่ก็ยังมีชาวอินเดียมาเล่นน้ำหรือปิกนิคกัน
ส่วนผมปวดฉี่ ขอเจ้าของร้านเขาเข้าห้องน้ำที่อยู่ลงไปด้านล่างนี่ บอกก่อนว่าไปเข้าเฉยๆไม่ได้นะครับ เพราะประตูมันล็อคด้วยสายยู ต้องขอเขาและเขาให้ลูกกุญแจมาครับ เสร็จแล้วก็คืนเขา ในใจจะคิดเงินก็ได้ไม่เป็นไร แต่เขาไม่คิดครับ ก็ขอบคุณ Thank you very much กันไปครับ
ผ่านไร่ชาอีกครั้ง ไร่นี้ใหญ่มากๆ ขับอยู่นานเลยกว่าจะสิ้นสุดสักที ชื่อว่า Ord Terai Tea Garden แล้วพอสิ้นสุดไร่ชาก็เข้าเขตพื้นที่ทหารครับ คราวนี้คือถ่ายรูปไม่ได้แน่ๆ ยาวไปจนถึงสนมบินบักโกรากันเลย
พอมาถึงที่สนามบินบักโดกรา ก็ไม่มีเวลาถ่ายรูปครับ ต่อแถวเข้าประตูสนามบินโดยต้องแสดงบอร์ดดิ้งพาสก่อน ผมปริ้นท์มา แต่เพื่อดันไม่ได้ปริ้นท์มา ดันอยู่ในมือถือ แบ็ตฯก็ดันมาหมด ต้องชาร์จแบ็ตฯกันให้วุ่นเลย แล้วก็เปิดมือถือแสดงให้ทหารคุมทางเข้าดูจนได้ แจ้งไว้เลยนะครับ แม้สายการบินในปัจจุบันจะยอมให้ใช้บอร์ดดิ้งพาสแบบอิเล็กทรอนิกส์คือจากมือถือได้ แต่ปริ้นท์ลงกระดาษมาเถอะครับ นี่คือตัวอย่างที่มันเสียเวลาและยุ่งยากมากๆถ้ามือถือเราดับ หรืออาจไม่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ตก็จบเห่เลยครับ ถ้าปริ้นท์ลงกระดาษมา ไม่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ต หรือแบ็ตฯมือถือหมดก็ยังสามารถใช้ได้อยู่ ยกเว้นทำหายนะครับ
เข้ามาถึงก็รอเช็คอินครับ มีคนอินเดียของสายการบินอะไรไม่รู้เข้ามาตีสนิทเรา ยกกระเป๋าเราไปต่อแถวสแกนสัมภาระให้ ตอนแรกเราก็กลัวๆนะครับ แต่ก็ยืนอยู่ตลอดไม่ให้เอากระเป๋าไปไหน จนสุดท้ายได้สแกนกระเป๋าแล้วติดแถบว่าสแกนแล้ว เป็นอันเสร็จ ชายคนนี้ทั้งยกทั้งช่วยใส่เครื่องสแกน เราเลยให้สินน้ำใจไป แกบอก ให้ไปให้ในห้องน้ำ อิอิ กลัวโดนจับได้ 555 แล้วก็ขึ้นไปชั้น 2 ไปสั่งอาหารกินกัน อร่อยดีครับ หิวซ่กเลย ก่อนที่จะเอากระเป๋ามาเช็คอินหลังทานเสร็จ
พอเช็คอินเสร็จ เดินเข้าเกทและขึ้นไปบนเครื่องบิน ระยะเบาะหน้ากับหัวเข่าก็ยังพอได้อยู่ครับ
นาฬิกาบอกเวลา 17.12 น. มองออกหน้าต่างเครื่องบินไป แสงใกล้หมดเต็มทีแล้วครับ ลงสนามบินกัลกัตต้าก็คงมืดพอดี
ตามแพลนเดิมที่ว่า จะไปข้างนอกสนามบินอีก ไป Victoria Memorial ยามค่ำคืน แต่คิดไปคิดว่า ไม่เอาดีกว่า กลัวรถติดแล้วจะตกเครื่องบินแล้วจะซวยเอา ก็เลยเปลี่ยนแผนอยู่ในสนามบินดีกว่า ขึ้นไปชั้นขาออก ชั้นบน พื้นเพดานเป็นภาษาฮินดี ทำสวยงามดีครับ เหมือนตอนขามาที่ถ่ายไปแล้ว แต่ก็ยังอยากเก็บภาพอีก
เนื่องจากเคาน์เตอร์ของ SpiceJet ยังไม่เปิดให้เช็คอิน เลยหาร้านกาแฟนั่งซะหน่อย แต่คงนั่งนานมากๆ ไปได้ร้านนี้ครับ Cafeccino & Bar เห็นแผงไฟชื่อร้านแล้วก็คงต้องเข้าไปเพราะสวยมากๆ แถมมีบอร์ดแสดงไฟลท์ขาออกใกล้ๆด้วย
นี่ครับ ณ ตอน อีก 10 นาที 1 ทุ่ม ไฟล์ทเรายังไม่มีเรียกเช็คอินนะครับ ก็นั่งยาวไป
ไปสั่งเครื่องดื่มแก้วนี้ครับ Ice Cappuccino 160 รูปี แล้วก็นั่งยาวเลย อิอิ
เลือกที่นั่งที่ใกล้ๆกับปลั๊กไฟ ก็ชาร์จกันจ้าละหวั่น ตัวแปลงไฟและพาวเวอร์แบ็งค์ และมือถือของแต่ละคน
เดินเก็บบรรยากาศสนามบินนิดนึงครับ คนเงียบแล้ว ผมว่าสนามบินนี้ตกแต่งสวยงามมากๆนะครับ ตกแต่งสวยรองจากสนมบินอินทิราคานธี เดลี หรือเปล่านะ
แล้วก็จากกันด้วยภาพนี้ครับ ภาพวาดในสนามบิน หลังจากนั้นก็เก็บกล้องใหญ่ รอเช็คอินต่อไปจนบินกลับสุวรรณภูมิอย่างปลอดภัยครับ ก็เป็นอีกหนึ่งทริปในอินเดียที่ภูมิประเทศสวยงามแบบเทือกเขาที่มีหิมะปกคลุมของเทือกเขาหิมาลัย ใกล้ๆภูฏานและเนปาล ขอบคุณที่เข้ามาอ่านจนถึงตรงนี้ สวัสดีครับ
เห็นว่าบทความนี้น่าสนใจ รบกวนกดแชร์ด้วยครับ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น