วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560

Incredible Sikkim (สิกขิม) ตอน 5.25 แทบหยุดหายใจ...กับวิวเบื้องหน้า ณ หุบเขายุมถัง(Yumthang Valley) หุบเขาแห่งดอกไม้(The Valley of Flowers)


ตอนนี้จะเป็นตอนสำหรับหุบเขายุมถัง(Yumthang Valley) หรือรู้จักในนาม หุบเขาแห่งดอกไม้ (Valley of Flowers) โดยเฉพาะ พอมาถึงที่นี่คนขับก็จัดแจงหาที่จอดรถ แล้วเราก็ลงไปเดินชมวิวสวยๆ ที่ถ้าไม่บอกว่าที่ไหน หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นยุโรปแถบสวิตเซอร์แลนด์ก็เป็นได้ เพราะผมเองพอมาดูรูปยังอึ้งเลยว่า โห...ทำไมมันสวยขนาดนี้ ยิ่งมีบ้านไม้เก่าๆหลังคาคลุมไปด้วยหิมะแล้วนั้น ยิ่งทำให้คลาสสิคเข้าไปใหญ่ เหมือนในหนังบ้านเล็กในป่าใหญ่เลย พอเก็บวิวในยุมถังแบบเต็มอิ่มแล้วก็เดินไปไหว้สถูปที่อยู่ใกล้ๆกัน ช่วงนี้มีลื่นด้วยครับ ต้องเดินดีๆ แล้วก็กลับไปทานกาแฟร้อนให้ร่างกายอบอุ่นหน่อยที่ร้านขายของด้านหน้าทางเข้า สักพักก็ขับรถกลับ


จากตอนที่แล้วที่เหลืออีก 2 กม.เราก็มาถึงหุบเขายุมถังกันแล้ว 2 ข้างทางก่อนถึงที่จอดรถเป็นร้านขายของ ดูแล้วคล้ายๆเราไปเที่ยวภาคเหนือในบ้านเรา เช่น ปาย แม่ฮ่องสอน หรือดอย/ผา อะไรสักอย่างที่พอถึงทางเข้าก็จะเจอกับร้านของชาวม้งชาวเขามากมายเอาของมาขาย ความรู้สึกนี้มันกลับเข้ามาอีกครั้งครับ
ปล. มุมนี้คือมุมที่มองย้อนไปหาทางเข้านะครับ


แล้วก็เดินต่อไป หาห้องน้ำก่อนครับ ปวดฉี่มากๆ


เดินไปสักพัก ถนนก็โล่งจากรถและผู้คนแล้ว มุมนี้สวยดีจัง เห็นหลังคาจั่ว 2 ยอดทางด้านขวามั้ยครับ นั่นแหล่ะห้องน้ำ


ลงไปเข้าห้องน้ำก่อนนะครับ ค่าเข้าคนละ 10 รูปี ทางขวาผู้ชาย


เสร็จธุระแล้วก็ขึ้นมาตรงข้างบนอีกครั้ง มุมนี้คือจุดที่รถเช่ามาจอดกัน ด้านที่เห็นคือทางเข้ามานะครับ


เดินเข้าไปเรื่อยๆจะเจอกับป้ายอันนี้ ยุมถัง ระดับความสูง 12,000 ฟุต ถ้าขับรถตรงไปเรื่อยๆก็จะเป็น Zero Point ระดับความสูง 14,540 ฟุต ซึ่งอย่างที่บอกไปคือช่วงนี้หิมะตกหนักมากๆ ทางไปไม่ได้ครับ


เทือกเขาที่เห็นตรงข้างหน้าสวยมากๆ ทราบว่าเป็นเทือกเขาหิมาลัย แต่ช่วงไหนไม่ทราบได้ หรือชื่อว่าอันนี้หรือไม่ Kangchengyao
ปล.จะเห็นสถูปทางซ้ายมือไกลๆ ตรงที่มีธงหลายสีเยอะๆ เดี๋ยวเราจะไป แต่เราจะลงไปเดินชมวิวทางด้านขวาก่อน ตรงที่เพื่อนผมกำลังนั่งยองๆ


วิวมุมนี้ก็สวยจนสะกดจิตอีกแล้ว เทือกเขาแนวยาวขาวโพลนไปด้วยหิมะที่ปกคลุมด้านบนยอด


คนที่มาที่นี่ก็จะเดินลงไปแถวๆลำธารครับ


มุมนี้ย้อนแสงหน่อยๆ ให้เกิดแฟลร์เข้าเลนส์ มีบ้านไม้เก่าๆหิมะคลุมด้านบนหลังคา ดูคลาสสิคไปอีก


เดินไปเรื่อยๆครับ


Take only photographs leave only footprints 


ผมยังจำประโยคนี้ได้ดีจากป้ายที่ติดที่เกสเฮ้าส์บนเส้นทางพูนฮิลล์ เนปาลครับ


ผ่อนคลายเมื่อเห็นวิวนี้


ผมไม่ได้ลงไปจนถึงจุดที่เป็นลำธารครับ เลยทำได้เพียงถ่ายภาพบรรยากาศนักท่องเที่ยวท่านอื่นไว้


ไม่ว่ามุมไหนๆก็สวยทุกๆมุมเลยครับ


ไม่แน่ใจที่เขาทำเป็นเพิ่งไม้นี้ เขาไว้เก็บอะไร หรือเป็นไม้ที่ทำเป็นฟืนอย่างเดียว


อันนี้ต้นอะไรเอ่ย? 

สวยอ่ะ.....ฟ้าเข้มโดยไม่ต้องใช้ CPL เลย


อีกมุมนึง เฮ้ย....อย่างกับวิวที่ประเทศแถบยุโรป


ธง...ทางด้านซ้าย และ...


ธง...ทางด้านขวา ก็ธงอันเดียวกันแหล่ะ 555


ชมภาพบรรยากาศหุบเขายุมถังไปเรื่อยๆนะครับ


นักท่องเที่ยวเริ่มทะยอยมากันเยอะแล้วครับ


อีกรูปก่อนจะไปที่จุดอื่น...หลังคาปกคลุมไปด้วยหิมะ


แล้วก็เดินต่อไปยังสถูปที่อยู่ข้างหน้านี้


ไกลพอควรเลย 555 เห็นว่าไม่ไกล


แวะเก็บภาพธงมนต์ด้านขวามือก่อนครับ เห็นแล้วนึกถึงภาพนี้......


ภาพนี้ครับ วันที่ขึ้นไปยอดพูนฮิลล์ เนปาล แล้วกำลังลงกลับมา


จังหวะนี้ผมลื่นไป 1 ครั้งครับ ดีที่ไม่มีรถแล่นมา ให้เดินตรงที่เป็นด้านข้างทางเดินนะครับ อย่าไปเดินช่วงที่ล้อรถมันแล่นทับ เพราะมันจะกดหิมะจนแน่นและทำให้ลื่นครับ หรือไม่ก็เช่ารองเท้าบูทดีกว่า หรือซื้อสตั๊กหิมะมารองรองเท้านะครับ จะยึดเกาะพื้นหิมะได้ดีมากๆ อย่าไปเสี่ยงอันตรายแบบนี้


ถึงแล้วครับ หอบเลย 555 สถูปกับธงมนต์ เข้ากันมากๆ


นี่ครับ รอยเท้าเวลาย่ำไปกับพื้นด้านข้างถนน จะจมไปหน่อย แต่ไม่ลื่นนะครับ


ได้เวลาเข้าไปอบอุ่นร่างกายกันข้าวในดีกว่า ไปพร้อมกับคนขับรถทั้ง 2 คน


เข้าไปในร้านก็จะเจอแบบนี้ครับ มีเตาผิงไฟให้ความอบอุ่น เพราะข้างนอกหนาวมากๆ นั่งล้อมวงกัน


เครื่องดื่มก็เป็นกาแฟร้อน แต่บอกเลยไม่ชอบแบบ 3 in 1 ครับ เพราะมันหวานมาก หวานเกินไป ดื่มไปได้นิดเดียวเอง คนที่ยืนด้านหน้าคือเจ้าของร้านนั่นเอง


นี่ครับ ทุกร้านจะมีรองเท้าบูทให้เช่า กันลื่นเวลาเดินบนหิมะ เรารู้ก็สายไปแล้ว 555 เช่าดีกว่าครับ ไม่กี่รูปีเอง เดินเกาะพื้นกว่าเยอะถ้าไม่ได้สวมรองเท้าหิมะมาโดยตรง


ร้านทุกร้านจะมีขายของที่ระลึก ถุงเท้า หมวก เสื้อไหมพรมกันหนาว เครื่องดื่ม และให้เช่ารองเท้าบูท แต่ผมไม่ได้ซื้ออะไรติดมือมาเลย อิอิ แค่เข้าไปทานกาแฟร้อนอย่างเดียว แล้วก็ได้เวลากลับกันแล้ว เตรียมขึ้ยรถและชมวิวระหว่างทางในตอนต่อไปครับ


เห็นว่าบทความนี้น่าสนใจ รบกวนกดแชร์ด้วยครับ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น