วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2560

Incredible Sikkim (สิกขิม) ตอน 7 เที่ยวครึ่งวันเช้า ไปไร่ชา Happy Valley Tea, สวนสัตว์ Padmaja Naidu Himalayan, เดินเล่นชมวิวยอดเขาในเทือกเขาหิมาลัยตามถนนมอลล์(Mall Rd.) ก่อนกลับมาทานอาหารเช้าที่โรงแรม


เช้าวันที่ 7 ในอินเดีย วันนี้เป็นวันสุดท้ายของทริปสิกขิมก็ว่าได้ เพราะตอนบ่ายเราก็จะกลับไปสนามบินบักโดกรา และบินกลับไปกัลกัตต้าแล้ว เพื่อรอเครื่องระหว่างประเทศกลับไทยในดึกของอีกวันต่อไป ฉะนั้น วันที่ 8 ที่บินกลับไทยจึงไม่มีภาพแต่อย่างใด แต่ยังถือเป็นอีก 1 วันในทริปนี้ครับ โดยวันนี้จะแบ่งเป็น 2 ตอนย่อยด้วยกัน

เช้านี้กะว่าจะเช่ารถแท็กซี่ไปไร่ชา(อีกแล้ว) Happy Valley Tea Factory, สวนสัตว์ดาร์จีลิ่ง Padmaja Naidu Himalayan Zoological Park पद्मजा नायडू हिमालयन जुलोजिकल पार्क แพลนที่ได้วางไว้ว่าจะไปเมื่อวานนี้แต่ไม่ได้ไป ส่วนสถานที่ที่เหลืออีก 2 แห่งคือ วัดกูม(Ghum Monastery) วัดที่เก่าแก่ที่สุดในดาร์จีลิ่ง และสถานีรถไฟกูม(Ghoom Station) ที่แพลนว่าจะไปนั้น จะได้ไปมั้ยก็ต้องรอติดตามกันครับ

จบจากสวนสัตว์ผมก็เดินสำรวจรอบๆชาวรัสตา(Chowrasta) อีกครั้ง ดีที่ได้มาเดินไม่งั้นมาไม่ถึงแน่ๆ เพราะมันมีทางเดินรอบๆที่อีกฝั่งเป็นทางเดินที่มองเห็นจุดชมวิวเทือกเขาหิมาลัย มียอดเขาหลายๆยอดเลย และแน่นอนว่า หนึ่งในนั้นคือคันเจงจุก้า แล้วก็เดินกลับโรงแรม ขึ้นไปทานอาหารเช้าด้านบนดาดฟ้า และกลับมาเก็บกระเป๋าเตรียมตัวไปรอรถที่จะมารับไปสนามบินบักโดกราต่อไป


7.42 น. ผมและเพื่อนออกจากโรงแรมมา ทางเดินที่จะไปวงเวียนน้ำพุ ณ ตอนนี้แผงขายเนื้อสัตว์และผักยังว่างอยู่ ยังไม่มีการเปิดร้านแต่อย่างใด


ที่วงเวียนน้ำพุ คนเลี้ยงม้ากำลังขัดสีฉวีวรรณม้าที่ตัวเองนำมาเตรียมให้ลูกค้าเช่าขี่ แดดอ่อนๆพอได้รับรู้ถึงความอบอุ่นได้บ้าง


เดินลงมาตามทางเดินนี้ ทางเดินที่เรามาลงรถเมื่อวาน เจอโบสถ์คริสต์เซนต์แอนดรูวส์ตรงข้างหน้า


ด้านซ้ายมือจะเป็นที่ว่าการเมืองดาร์จีลิ่ง


ตรงนี้เป็นศิลปะบนกำแพง ที่ทำสวยงามไม่ใช่ใครพ่อใครในประเทศเรา มีชื่อเรียกด้วยนะครับว่า MBKS Wall



เส้นทางการเดินทางจากจุดที่เรียกแท็กซี่ ไปไร่ชา และสิ้นสุดที่สวนสัตว์


เดินไปเดินมา เรียกแท็กซี่เพื่อต่อรองราคา 1-2 คัน แล้วมาได้คันนี้ครับ โอเค...ไปตามที่เราแจ้งว่าจะไปเพียง 2 สถานที่เท่านั้นคือไร่ชา Happy Valley Tea และ สวนสัตว์ดาร์จีลิ่ง


จะบอกว่า ทางลงไปไร่ชานั้น โคตรหวาดเสียวเลย ทางชันมากๆ ถ่ายทางมาไม่ได้ คือนั่งไปลุ้นไปว่าตรูมาทำไมวะ จะบอกยกเลิกก็ไม่ทันซะแล้ว ลงไปแล้ว เฮ้อ...สุดท้ายก็ได้วิววแบบนี้


ไร่ชา 101 เอ้ย...ไม่ใช่ ไร่ชาหุบเขาแห่งความสุข(Happy Valley Tea)


น้องๆหนูๆกำลังทำอะไรกันนะ เห็นมีถังแกลลอนหลายถังเลย


เสร็จจากไร่ชาที่ตัวร้านยังไม่เปิดเพราะไปเช้าเกินไป ไม่รอเลยให้มาส่งที่นี่ ที่สุดท้าย สวนสัตว์ดาร์จีลิ่ง (Padmaja Naidu Himalayan Zoological Park पद्मजा नायडू हिमालयन जुलोजिकल पार्क) ต้องเดินขึ้นทางเข้าที่อยู่บนเนินกันเอง


โอ้ว....คนออกันหน้าทางเข้าสวนสัตว์กันเยอะเลยแฮะ ตอนนี้เกือบๆ 8.30 น. สงสัยจะใกล้เปิดแล้วหล่ะ


ไปต่อแถวซื้อตั๋วก่อน คนละ 100 รูปี(คนต่างชาติ) และผมเสียค่ากล้องด้วย 10 รูปี ก็โอเค เดินเข้าไปกันเลย


ตัวนี้เลียงผารึเปล่านะ?? มองกล้องด้วย 555


ตัวนี้อยู่อีกกรุง เขาสวยมากๆ เป็นแบบสไปรอล(กลียว)เลย ผมแนบป้ายคำอธิบายมาด้วยครับ ชื่อว่า Markhor (Capra Falconeri Wagner, 1839) เป็นสัตว์แห่งชาติของปากีสถาน เพศผู้ มีจุดเด่นคือเขาที่เป็นเกลียวสวยงามาก แผงคอหรือเคราแผ่ลงมาจากคอและไหล่ลงมาถึงเข่า พบในเทือกเขาแถบเอเชียกลาง อยู่กระจัดกระจาย ตลอดทั้งอัฟกานิสถานตะวันออกเฉียงเหนือ, อินเดียเหนือ, ทางตอนเหนือและตอนกลางของปากีสถาน, ทางตอนใต้ของทาจีกิสถานและอุษเบกิสถาน กินหญ็า ใบไม้ และพืชต่างๆ มีอายุเฉลี่ย 12-13 ปี


ส่วนกรงนี้น่าจะเป็นวัวที่อยู่ตามภูเขาต่างๆ ไม่น่าจับมันมาขังเล้ยยยย สงสาร


ส่วนตัวนี้ตัวอะไรไม่ทราบได้ครับ เขาสวยเหมือนกัน เขาคล้ายๆควายแต่รูปร่างไม่ใช่


เส้นทางที่เดินชมวิวรอบถนนมอลล์(Mall Rd.) โดยขอเริ่มจากที่ทำการเมืองดาร์จีลิ่งไปเรื่อยๆ แล้วไปจบที่โรงแรมแมกโนเลีย


ต่อจากนั้นผมและเพื่อนก็แยกกันเดินครับ ผมขอเดินรอบชาวรัสตาไปเรื่อยๆ ยังไม่เดินกลับโรงแรม ที่นี่ทำดีครับ ทางเดินเขาจะมีอนุสาวรีย์คนอินเดียที่ทำประโยชน์ให้กับประเทศ ตั้งไว้ริมทางเดิน ท่านนี้คือมหาตมะคานธีนั่นเอง


เดินต่อมา จะพบกับอนุสาวรีย์ของมหาบัณฑิต Rahul Sankrityayana ถือว่าเป็นบิดาแห่งการเขียนบรรยายการเดินทางของศาสนาฮินดุ ได้ออกเดินทางไปในที่ต่างๆของประเทศอินเดีย และต่างประเทศในเขตรอบๆอินเดีย เขียนบทความระหว่างการเดินทาง และเสียชีวิตที่นี่ ดาร์จีลิ่ง


เดินมาถึง Little Tibet เป็นรีสอร์ทที่สามารถชมวิวในฝั่งที่เป็นไร่ชาได้ครับ


ต่อจากนั้นก็เดินเลี้ยวขวาไปถนนมอลล์(Mall Rd.) ด้านขวามือเป็นอนุสาวรีย์ Nawang Gombu Sherpa นักปีนเขาและคุณครู เป็นคนแรกที่พิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์ถึง 2 ครั้งวันที่ 1 พฤษภาคม 1963 และ ปี 1965 และในวันที่ 20 มิถุนายน 1964 เขาเป็นคนอินเดียคนแรกและนักปีนเขาคนที่ 3 ในโลกที่พิชิตยอดเขานันดาเดวี่(Mount Nanda Devi) และเป็นครูก่อตั้งสถาบันการปีนเขาหิมาลายันในดาร์จีลิ่ง


เดินมาอีกก็เจอกับอนุสาวรีย์ Swami Prabuddhananda เกิดในแคว้นอัสสัม(ณ ปัจจุบันอยู่ในบังคลาเทศ) เขาถือเป็นจิตวิญญาณของชาวเขาของดาร์จีลิ่งแห่งนี้ ที่ตรงเวทีลานชาวรัสตาก็มีรูปปั้นท่านนี้


ต่อไปเป็นอนุสาวรีย์ Gorkha Ambedkar Kaman Singh Ramudamu


แล้วก็มาถึง Hermitage Resort รีสอร์ทที่วิวดีที่สุด คือวิวหลักล้าน ราคาอาจหลักพันเพราะสามารถชมวิวเทือกเขาหิมาลัยแถมได้ชมยอดเขาต่างๆมากมาก หนึ่งในนั้นคือยอดเขาคันเจงจุงก้านั่นเอง!


ดูสิครับ วิวสวยมากๆๆๆๆๆๆ


แต่ถ้าไม่ได้พักที่รีสอร์ทดังกล่าวข้างต้น ก็สามารถมาชมวิวเปล่าๆได้ที่นี่ อยู่ติดๆกัน คือจุดชมวิวสาธารณะนั่นเอง มีชื่อว่า Observatory Hill View Point มีม้านั่งด้วยนะเออ ไปนั่งพักกันก่อน


ยอดเขาที่ขาวโพลนมองไม่ชัดทางด้านหลังน่าจะเป็นยอดคันเจงจุงก้าแน่ๆ เสียดายหมอกเยอะไปหน่อย เลยไม่เห็นแบบเคลียร์ๆเท่าไหร่


ดูชื่อยอดเขาต่างๆได้ตามนี้ครับ มีแผ่นผ้าติดบอกไว้


แล้วก็ได้เวลาเดินกลับแล้วครับ เดินเป็นวงกลม


ตลกดี มีหมา 4 ตัวนอนขดกันบริเวณนี้ อากาศมันหนาวเย็นจริงๆ


ออกมาถึงลานชาวรัสตา(Chowrasta) แต่เป็นอีกทางหนึ่ง


ถ่ายเด็กอินเดียกำลังขี่ม้าดีกว่า ม้นที่เราเห็นตอนเช้าตอนออกจากโรงแรมหรือเปล่านะ


มีใครสนใจขนมปังปิ้งชิ้นนี้บ้าง?


ยังไม่สนใจก็เดินผ่านไปก่อนครับ กล้วยกับส้มและแอ๊ปเปิ้ลน่าทานจริงๆ


ได้เวลาขึ้นไปชั้นดาดฟ้า เป็นอาหารเช้าฟรีที่นี่ครับ ชมวิวเขาได้ด้วย แต่ไม่สวยเท่าที่ผมเดินไปหรอก


ชาร้อนมาเสริฟก่อนเลย ที่นี่ปลูกเยอะสุดจะไม่ฮิตได้ไง


แล้วอาหารและของหวานก็ตามมาตามในภาพนะครับ อร่อยไปตามๆกัน 

เดี๋ยวพอทานอาหารเช้ากันเสร็จก็ได้เวลาเก็บของแล้วลงมารอรถที่จะมารับเราไปส่งสนามบินบักโดกราต่อไป ส่วนจะได้แวะไหนบ้างก็ต้องมาติดตามกันครับ

[ตอน 0] [ตอน 1] [ตอน 1.5] [ตอน 2] [ตอน 2.5] [ตอน 3] [ตอน 3.5] [ตอน 4] [ตอน 4.5] [ตอน 5] [ตอน 5.25] [ตอน 5.5] [ตอน 5.75] [ตอน 6] [ตอน 6.33] [ตอน 6.66] [ตอน 7] [ตอน 7.5]

เห็นว่าบทความนี้น่าสนใจ รบกวนกดแชร์ด้วยครับ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น