วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2560

Incredible Sikkim (สิกขิม) ตอน 6.66 ออกมาเดินชิลล์ๆ หาอะไรทานมื้อบ่ายๆ แล้วเดินไปสถานีรถไฟดาร์จีลิ่ง เก็บภาพสถานีรถไฟมรดกโลก


เก็บข้าวของเสร็จก็เตรียมตัวออกไปข้างนอกไปหาอะไรกินนะครับ พร้อมกับชมวิวสถานที่ไปในตัว พอทานอะไรแล้วก็แยกย้าย ไปดูอะไรของแต่ละคน ผมตั้งใจจะเดินไปสถานีรถไฟดาร์จีลิ่งที่ผ่านมา เพราะเห็นว่าไม่ไกล ไหนๆมาถึงแล้วต้องไปสถานที่จริงให้เห็นกับตา ไม่ใช่แค่ผ่านอย่างเดียว แล้วหลังจากนั้นช่วงค่ำๆก็หาอาหารมื้อค่ำทาน ในร้านใกล้ๆ แต่รสชาติ....ต้องติดตามกันครับ



เส้นทางการเดินเท้าจากโรงแรม Magnolia Residency ไปที่ต่างๆจนถึงสถานีดาร์จีลิ่ง


ออกจากโรงแรมเดินย้อนกลับไปลานกว้างเหมือนเดิม ตรงที่มีวงเวียนน้ำพุ ผ่านร้านขายเนื้อสัตว์และผักเป็นแนวยาว 2 ข้างทาง


สงสารม้าพวกนี้จังครับ อยู่ในคอกแคบๆแถมหมักหมมกับขี้ตัวเองอีก เอาไว้ให้นักท่องเที่ยวเช่าขี่


ถึงแล้วครับ วงเวียน้ำพุ ที่ไม่มีน้ำพุ


รอแถวๆนี้ก่อน เพื่อนผมเข้าไปซื้อของในร้าน Art Crafts & Curious อ้อ...จริงๆแถวนี้เขาเรียก Chowrasta แต่เชื่อมั้ย ถ้าเสิร์ชใน Google Map มันจะไม่เจอ ไม่เข้าใจ ไม่รู้ตอนนี้เป็นไง


ตรงนี้จะเป็นลานกว้างๆ ให้ทำกิจกรรมกัน ไกลๆด้านหน้าเหมือนจะเป็นเวทีไว้แสดงเวลามีงานครับ


ร้านหนังสือร้านนี้แต่งเข้าท่าดีแฮะ ทาสีเขียว  Oxford Book & Stantionary Co. เลียนแบบจากอังกฤษ เพราะเคยเป็นเมืองขึ้นอังกฤษนั่นเอง


นี่คืออนุสาวรีย์ของ Bhakta Acharya นักแต่งกลอนชาวเนปาล


แล้วก็เดินดูร้านขายของรอบๆนี้


ได้เวลากลับมาที่วงเวียนน้ำพุอีกครั้ง พอเจอเพื่อนก็เดินไปหาอะไรกินที่ทางนี้ ด้านขวาของวงเวียน(ด้านซ้ายทางไปโรงแรม)


ทางเป็นเนินลงเขาไป คนเยอะเชียว ไม่แปลก เมืองท่องเที่ยว


เจอแว้ววว ร้าน KFC ด้านซ้ายมือ งั้นเปลี่ยนบรรยากาศทานอาหารตะวันตกบ้าง


อยู่ชั้น 2 ทางเดินเข้าเดียวกับโรงแรม Old (Main) Bellevue Hotel



ได้เจ้าชุดนี้มา เป็นเบอร์เกอร์ไก่ และไก่ทอด 2 ชิ้น พร้อมน้ำอัดลม


ร้อนๆ น่ากินทีเดียวครับ


เสร็จจาก KFC ก็แยกย้ายกันไปคนละทิศ ผมขอตัวเดินไปสถานีรถไฟดาร์จีลิ่ง ไปเก็บภาพสถานีแนวเรโทรเก่าๆ +สกปรกนิดๆ เดินลงไปตรงนี้ครับ


เป็นเนินลง แต่ขากลับอ๊วกๆแน่ๆ เพราะขึ้นเนิน


มาเจอห้าง Big Bazaar ตรงหัวมุมถนน


แล้วก็เดินไปตามถนนเรื่อยๆ ด้านขวาถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็นอาคารไปรษณีย์เก่าแก่ อาคารสีน้ำตาลหลังคาสีส้ม ใช่จริงๆด้วย India Post ไปรษณีย์ที่ไหนๆจะต้องสีแดงขาวเนอะ คงเป็นสีสากล


วนมาเจอ 3 แยก แล้วก็เดินตรงไป ชิดขวาครับ


ได้เวลาเลี้ยวขวา เลี้ยวมาก็เจอกับรางรถไฟเก่าทอยเทรนเลย รางนี่กว้างนิดเดียวเอง สมกับที่เรียกว่า ทอยเทรน รถไฟของเล่น


ผ่านร้านขายปลาสดๆ น่ากินมั้ย??


นี่ครับ ถึงแล้ว สถานีดาร์จีลิ่ง มรดกโลก


ป้ายรูปภาพสมัยเก่าของสถานีนี้และประวัติความเป็นมา


เดินตามชานชาลานี้ไป รถไฟกำลังจอดรออยู่


ขบวนนี้อยู่ขวามือของชานชาลา


ส่วนนี้ขบวนชิดติดชานชาลา หน้าตาน่าเกลียดจริงๆ สีดำๆ จะตกแต่งให้ดีๆหน่อยก็ไม่ได้


เดินไปจนไปเจอหัวรถจักรไอน้ำ ควันออกมาสกปรกเชียว ด้านบนคือถาดรองรับถ่านหินที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง พลังงานสมัยก่อนที่โคตรสกปรก เข้าใจเลยว่ามันเกิดมลพิษยังไง ในบ้านเราก็มีหัวรถจักรไอน้ำนะ แต่ใช้ฟืนนี่ ไม่ได้ใช้ถ่านหิน


มาดูมุมด้านหน้าหัวรถจักรบ้าง


เดินวนมาถ่ายด้านข้างฝั่งนี้ โห....ควันดำมากๆ สกปรกไม่น่าใช่เลย มลพิษทั้งน้านนนน ของเก่าบางทีก็ไม่ได้ดีเสมอไป เปลี่ยนพลังงานสะอาดดีกว่าครับ


เดินยาวๆออกไปตรงที่รางมันมารวมกัน


แล้วก็กลับหลังหันมาเก็บภาพสถานีดาร์จีลิ่งแบบในมุมรวม


ข้ามไปตรงอีกฝั่งนึงของถนนก็จะเห็นหัวรถจักรกำลังสตาร์ทเครื่องอยู่ 1 หัว ตรงนี้ให้เดาน่าจะเป็นคล้ายๆโรงซ่อมครับ


แล้วก็ได้เวลา 1 ขบวนแล่นออกจากสถานีดาร์จีลิ่งแล้วครับ


ที่นั่งเป็นไงบ้าง?? สบายมั้ย


ได้เวลาเดินกลับครับ ตรงนี้หอนาฬิกาเก่าสวยดี บอกเวลา 16.20 น.


เดินเข้าถนนเส้นเดิม


กลับมาที่โรงแรมก่อนครับ เข้าห้องพักนอนสักงีบ แล้วก็ออกมาอีก


อากาศเริ่มเย็นลงอีกแล้ว งั้นไปหากาแฟร้อนๆทานกันดีกว่า แก้วนี้คาปูชิโน่ร้อน บอกเลย รสชาติห่วยแตก 555


ส่วนอาหารทานเล่นก็กินไม่ได้ครับ ไม่อร่อยเลย ทั้งผมและเพื่อนก็กินกันไม่ลงจริงๆ ชมวิวนอกร้านไปละกัน


ออกไปเดินเล่นบริเวณรอบๆอีกครั้ง เจอตู้ส่งจดหมาย 2 สีคู่กัน เขียวกับแดง


มีใครสนใจชาดาร์จีลิ่งบ้าง? ที่นี่ขายชากันเป็นหลักนะครับ เพราะเป็นแหล่งปลูกชาพันธุ์ดีเลื่องชื่อครับ บนเนินเขาชาคุณภาพดี ดังที่เราได้แวะพักไร่ชาที่ผ่านมากันแล้ว


หรือจะซื้อทังก้า เป็นของฝากครับ ผืนนี้น่าจะแพง


อ่า...เกือบๆ 2 ทุ่ม ร้านรวงเริ่มปิดจะหมดแล้ว เลยเดินกลับโรงแรมดีกว่า แม่ค้ามอง เอาอะไรมั้ยคร้าาาา?


เดินกลับๆ ไว้พรุ่งนี้มาชมกันต่อ โดยจะเที่ยวครึ่งวันก่อนแล้วช่วงบ่ายเดินทางกลับสนามบินบักโดกรา เตรียมตัวกลับไทยต่อไปครับ


เห็นว่าบทความนี้น่าสนใจ รบกวนกดแชร์ด้วยครับ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น