ตอนนี้จะเป็นตอนสุดท้ายของทริปอินเดีย "เลห์-ลาดักห์-แคชเมียร์-อักรา" แล้ว โดยจะรวบยอดวันเดินทางมาเมืองอักรา, วันรุ่งขึ้นในการไปชมทัชมาฮาลและกลับนิวเดลีในตอนดึกเพื่อบินกลับไทยในตอนตี 2 ของวันรุ่งขึ้น
Srinagar - Delhi - NZM Railway Station - Agra Cantt Railway Station - Agra - Taj Mahal - Delhi - Bangkok
แผนที่การเดินทางวันนี้ (คลิกเพื่อขยายภาพใหญ่) จากสนามบินศรีนาการ์ นั่งเครื่องบินภายในประเทศไปลงสนามบินอินธิราคานธี แล้วเดินทางต่อด้วยรถแท็กซี่ไปลงสถานีรถไฟ Hazrat Nizamuddin (NZM) เพื่อนั่งรถไฟไปลงสถานี Agra Cantt สถานีรถไฟที่ใกล้ทัชมาฮาลที่สุดของเมืองอักรา
เราถึงสนามบินศรีนาการ์ประมาณ 10 โมงเช้า จะบอกว่าเราเลือกถูกที่เราให้รถของที่นี่ไปส่งเราที่สนามบิน ไม่เรียกรถตุ๊กๆเอง เพราะถ้าเรียกตุ๊กๆ เองรถจะจอดแค่ด่านสแกนสัมภาระด่านแรกเท่านั้น หลังจากนั้นต้องเดินเข้าไปเองซึ่งไกลมากๆ เราไม่สามารถถ่ายรูปตอนก่อนเข้ามาที่สนามบินได้เพราะเข้มงวดมากๆ โดยจะมีด่านสแกนสัมภาระอยู่ด้วยกัน 2 ด่านก่อนถึงอาคารขาออกของสนามบิน โดยทุกคนต้องลงรถและเอาสัมภาระออกมาเข้าเครื่องสแกนเอง แล้วต้องเอามาเก็บบนรถใหม่และขับต่อไปเพื่อลงมาสแกนอีกครั้งที่ด่านสแกนด่านที่ 2 แล้วก็เอาสัมภาระขึ้นรถอีกครั้ง คราวนี้รถจะขับมาส่งที่อาคารผู้โดยสารขาออกเลย และเราก็ต้องลงพร้อมกับลาเจ้าของบ้านเรือแล้วเจอกันใหม่
ก่อนจะเข้ามาภายในอาคารผู้โดยสารขาออก เราก็ต้องเจอกับฝูงชนที่ยืนออกันอยู่หน้าทางเข้า เพราะคนเยอะมาก ต้องเข้าตามคิว ก็รอกันเกือบ 20 นาทีถึงจะเข้าไปได้ นั่นคือการสแกนสัมภาระครั้งที่ 3 พอเข้าไปยังอาคารแล้วก็จัดการเกี่ยวกับการเช็คอิน สักพักก็ต้องเขียนใบอะไรสักอย่างยาวๆ ถามกันแบบละเอียดมากขี้เกียจตอบกันเลยทีเดียว ขนาดขาออกนะเนี่ยยังยุ่งยากอย่างนี้เลย
คราวนี้พอจะเข้า gate พื่อรอบอร์ดดิ้ง ก็ต้องสแกนสัมภาระที่เอาขึ้นเครื่องกันอีกแล้ว เข้มงวดและละเอียดอย่างที่ใครๆที่เคยมาแล้วได้บอกไว้ โดยการตรวจทั้งคนและกระเป๋าที่เอาขึ้นเครื่องจะแยกทางเข้าออกเป็นชายและหญิง โดยผู้หญิงก็จะมีเจ้าหน้าที่หญิงเป็นคนค้นตัวและอาจโดนเข้าห้องเล็กๆเพื่อสอบถามและให้เปิดกระเป๋าดูสิ่งของที่เอาขึ้นเครื่องด้วย ผมโดยให้เปิดกระเป๋ากล้องซึ่งก็เปิดให้ดูอย่างปกติ ถามกันว่ามันคืออะไรยังไง ถ้าเราไม่มีพิรุธเปิดให้ดูตามปกติก็ผ่านขั้นตอนนี้ไปได้ด้วยดี คงเหลือเพียงการรอขึ้นเครื่องเท่านั้น จะบอกว่าสนามบินนี้โหดและหลายขั้นตอนกว่าสนามบินอื่นๆที่เคยไปมามากๆ เดินทางบ่อยๆที่ต้องผ่านสนามบินนี้ถือว่าแย่เลย
เรารอเครื่องออก รอแล้วรออีกก็ยังไม่มีวี่แววจนเซ็งไปตามๆกัน จนเลยเวลาออกไปแล้ว สุดท้ายเจ้าหน้าที่แจ้งมาว่าเครื่องดีเลย์ ปรากฎว่าดีเลย์เกือบ 2 ชั่วโมงด้วยกัน ทำให้แผนการเดินทางของเราที่ต่อจากนี้ผิดแผนไปเลย ไม่แน่ใจว่าจะไปทันรถไฟที่จองไว้หรือไม่ เพราะรถไฟที่เราจะต้องขึ้นจะออกเวลา 16.10 น. นับเวลาดูมันจะไม่ทันเอาแล้วนะ ทำยังไงดีเนี่ย??
ทุกจุดแม้กระทั่งด้านล่างของสนามบินจุด Taxi จะมีทหารถือปืนคอยลาดตระเวนตลอด กลัวใครจะมาวินาศกรรมทำนองนั้น
ในที่สุดก็ได้ขึ้นเครื่องกันแล้ว แต่พอขึ้นเครื่องคนเต็มแล้วก็ยังบินไม่ได้อีกไม่รู้รออะไร เซ็งมากๆไฟล์ทนี้ สงสัยถึงคราวซวยไปรถไฟไม่ทันแน่ๆเลย เครื่องเทคออฟจริงๆบ่าย 1 ครึ่ง ช้าไปจากกำหนดการ 1 ชั่วโมง 30 นาที
ผ่านไป 1 ชั่วโมงกว่า เครื่องก็แล่นลงจอดที่สนามบินอินทิราคานธี ฝั่งภายในประเทศ เรากลับมาสนามบินนี้อีกครั้งหลังจากผ่านไป 9 วัน รอสัมภาระด้วยอาการหงุดหงิดเพราะกลัวไปไม่ทันรถไฟ
ออกจากสนามบินมาก็งงๆ มองหาแท็กซี่ โดยเราต้องไปซื้อคูปองแท็กซี่(ไปสถานีรถไฟ NZM ราคา 360 รูปี)ข้างในสนามบินก่อนแจ้งว่าเราจะไปไหนเขาจะคำนวณค่าแท็กซี่ให้แล้วจ่ายเงินที่นี่เลย ต่อจากนั้นก็เอาคูปองมายื่นให้คนดูคิวแท็กซี่ด้านนอกนี้ จะเห็นจอดอยู่เยอะมาก คันไหนของเราเนี่ย?
เราถามคนขับแท็กซี่ว่าจะไปสถานีรถไฟ NZM ทันมั้ย คนขับบอกเราว่าเกรงจะไม่ทันเพราะใช้เวลาพอสมควรอยู่จากนี่ไป แต่เราก็ลุ้นตลอดทั้งทางให้ไปถึงทันรถไฟออก ลุ้นๆ
สภาพรถแท็กซี่คันที่เราโดยสารมา ข้างในไม่มีแอร์นะครับ ภายในเครื่องเคราก็แย่เอามากๆ น่าจะโละไปได้ตั้งนานแล้ว รถเก่าๆ 20 กว่าปีเห็นจะได้ ทนร้อนกันไป ช่วงไหนรถกำลังแล่นอยู่ก็จะมีลมเย็นๆพัดมา แต่ถ้าจอดติดไฟแดงแล้วละก็ ร้อนจริงๆ
สภาพถนนในนิวเดลีเป็น 4 เลนก็พอได้อยู่ รถออโต้ริคชอร์(ตุ๊กๆ)จะพบเห็นอยู่ทั่วไปตามท้องถนน
มาถึงสถานีรถไฟ H Nizzamuddin (NZM) แล้วครับ เรารีบมองดูนาฬิกา ตอนนี้ 16.45 น. ซึ่งเลยเวลารถไฟขบวนที่เราจองออกไปแล้ว แต่ยังลุ้นว่ารถไฟจะเลทนะครับ เลยไปถามจนท.ที่อยู่ตรงเครื่องสแกนกระเป๋า โชว์ตั๋วที่พิมพ์มาให้ดู ปรากฎว่าเขาบอกว่าออกไปแล้ว ฮือๆ เศร้าเลยครับ เหนื่อยก็เหนื่อย ร้อนก็ร้อน ต้องโทษสายการบิน JetAirways อย่างเดียว ทำให้เราตกรถไฟ!
เราคุยกันว่าจะเอาอย่างไรต่อดี จะกลับไปสนามบินดีมั้ย แล้วรอขึ้นเครื่องพรุ่งนี้อาจจะหาที่พักในนิวเดลีแล้วเที่ยวแถวนี้วันรุ่งขึ้นก่อนจะกลับไทยในตอนดึก แต่คิดไปคิดมา ในเมื่องตั้งใจไว้แล้วเลยรีบคิดหาทางออก ไปดูที่เคาน์เตอร์ขายตั๋วแบบปกติของสถานี เอาก็เอาวะ ซื้อตั๋วรถไฟอีกครั้งเพื่อจะไปเมืองอักราในเย็นนี้ให้ได้ ปรากฎว่าได้ตั๋วมา ไม่ได้ระบุที่นั่ง คนละ 260 รูปี ออกเวลาประมาณ 6 โมงเย็น กลับมาใจชื้นอีกครั้ง
เราเดินผ่านสะพานที่ลงไปตามชานชาลาต่างๆ ซึ่งต้องสแกนกระเป๋าก่อนด้วยนะครับ ที่อินเดียนี่รักษาความปลอดภัยเข้มทุกที่ ชอบตรงนี้ครับ แต่ก็รำคาญนะ เอ๊ะยังไง
ลงมารอที่ชานชาลาเราต้องสวมหน้ากากผ้ากัน เพราะแมลงวันขยะแถมกลิ่นเหม็นๆอยู่รายรอบริเวณนี้ ไม่รู้คนอินเดียเขาอยู่ได้ไง แย่มากๆ แถมอากาศที่ร้อนด้วยแล้ว เรียกได้ว่าสุดๆ ทั้งร้อนทั้งเหม็นสกปรก
รอรถไฟขบวนเราเป็นชั่วโมง ฉะนั้นการเดินไปเดินมาสำรวจจะทำให้ไม่เบื่อ คนอินเดียวเวลาทานอะไรแล้วจะชอบทิ้งลงบนรางรถไฟแทบจะร้อยทั้งร้อยเลยทีเดียว สังเกตตรงรางจะสกปรกมากกก
ด้านบนสะพานนี้จะลอยอยู่เหนือรางรถไฟ มีป้ายบอกว่าขบวนไหนจอดที่ชานชาลาไหน แอบไฮเทคครับ
ขบวนของเรายังไม่มาสักที ก็รอกันต่อไป หลายขบวนมาจอดด้วยจำนวนคนที่ล้นออกมาจากโบกี้ เรามองหน้ากัน ถ้าเป็นแบบนี้กับขบวนเราเราคงไปไม่ได้คงต้องยกเลิกการไปอักราแล้วกลับกัน
ในที่สุดขบวนรถไฟของเราก็มา เราไม่รู้หรอกว่าขบวนไหน อาศัยถามนายตรวจที่ยืนโบกธงสถานีนี้ โดยยื่นตั๋วให้ดูว่าใช่หรือไม่ ก่อนหน้านี้ได้ขึ้นผิดไปแล้วจนต้องถามคนในโบกี้ว่าใช่ขบวนนี้ที่จะไปอักราหรือเปล่า ปรากฎว่าไม่ใช่ต้องรีบลงกันจ้าละหวั่น เกือบเตลิดไปไหนต่อไหนแล้วเชียว ฮึ่มมม
โชคดีที่ขบวนนี้ของเราคนไม่เยอะเลย เรียกได้ว่าว่างเลยด้วยซ้ำ ขึ้นไปก็เลือกที่นั่งครับ คล้ายๆชั้น 3 ในรถไฟบ้านเรา รถไฟออก 6 โมง ตรงเวลาไม่เหมือนในบ้านเรา อันนี้ต้องชมครับ ด้วยระยะทาง 189 กม.จากนิวเดลีไปอักรา คงถึงราวๆ 4-5 ทุ่ม
ระหว่างในในรถไฟขบวนนี้ พอรถผ่านไปหลายสถานีคนก็ขึ้นมาเยอะขึ้นเยอะขึ้นจนต้องยืนกัน แต่ก้มีเรื่องที่ตลกหรือเปล่าไม่แน่ใจ เพราะมองไปรอบๆในโบกี้เรา แทบไม่มีผู้หญิงเลย จะมีก็แต่คนแก่ นอกนั้นผู้ชายทั้งนั้น พวกคนอินเดียนี้มันหื่นนะครับ ชอบมองมาทางแฟนผม แต่ก็ไม่มีอะไร เราเองก็กลัวๆ อยู่ต่างแดนท่ามกลางคนอินเดีย พอถึงสถานีหนึ่ง มีคนอินเดียลงไปหลายคน มันทำเป็นมาเคาะหน้าต่างที่แฟนผมนั่งอยู่ครับ ไอ้นี่มันทำเป็นแซว คิดแล้วก็น่ากลัวไม่ใช่เล่นนะครับ ผมเองคิดแผนในหัวตลอด ว่าถ้าเราจะลงเมืองใหญ่ๆแล้วพักก่อนดีมั้ยเพื่อความปลอดภัยของเราสองคน เพราะเมื่อมืดลงความไม่ปลอดภัยในขบวนรถไฟก็มาเยือน ดีนะครับที่ช่วงตอนก่อนที่เราไปอินเดียทริปนี้ไม่มีเรื่องผู้หญิงต่างชาติโดนข่มขืน ไม่งั้นเราคงไม่ไปหรือถ้าไปก็คงไม่เดินทางแบบลำพังอย่างนี้ กลับไปคิดแล้วน่ากลัวจริงๆ
รถไฟแล่นฝ่าความมืดไปเรื่อยๆ ผมนับถอยหลังของสถานีต่างๆ คอยลุ้นว่าเมื่อไหร่จะถึงสถานี Agra Cantt สักที พอดีมีคนอินเดียที่พอพูดภาษาอังกฤษได้นั่งอยู่แถวถัดไป เห็นเราเป็นนักท่องเที่ยวเลยเข้ามาบอกว่าจะไปอักราใช่มั้ย เราตอบว่าใช่ เขาบอกว่าเหลืออีก 2 สถานีก็ถึงแล้ว ซึ่งยังพอมีคนมีน้ำใจหลงเหลืออยู่นะครับ แล้วพอถึงสถานีที่เขาจะลง เขามาบอกเราอีกครั้งว่า ผมลงสถานีนี้แล้ว แต่สถานี Agra Cantt อยู่ถัดไป ทำให้เราใจชื้นครับ
สุดท้ายเราก็มาถึงสถานี Agra Cantt เวลา 22.32 น. มีเด็กหนุ่มที่ยืนตรงหน้ามาคอยเดินนำหน้าเราให้ออกไปจากสถานีได้ถูกต้อง ตอนแรกงงเหมือนกันว่ามาคอยเราทำไม ใครก็ไม่รู้ แต่เราก็ไม่ได้ไว้ใจนะครับ เดินห่างๆ
ออกจากสถานีรถไฟก็จะเห็นรถตุ๊กๆ เยอะทีเดียว เราเดินออกจากหน้าสถานีสักครู่เพื่อไม่ให้โดนคนรุม และถามลุงแก่ๆขับตุ๊กๆคนหนึ่งว่าไปโรงแรม Kamal คิดเท่าไหร่พร้อมกับยื่นใบ Voucher โรงแรมให้ดู ลุงแกบอกมาว่า 100 รูปี ผมต่อรองจนลุงยอมลดเหลือ 60 รูปี แต่พอลุงมาส่งที่โรงแรมที่พัก ลุงบอกว่าขอให้เราจ้างลุงอีกในวันรุ่งขึ้นโดยจะพาเราไปทัชมาฮาล เบบี้ทัช และป้อมปราการที่อยู่ใกล้ๆ เราตกลง โดยลุงนัดเราเวลา 9 โมงตรงพรุ่งนี้เช้า
โรงแรมคามาล(Hotel Kamal) เราจองผ่าน Hostel World เก็บมัดจำ 5% แล้วมาจ่ายส่วนที่เหลือ 1,035 รูปี ที่เลือกจองที่นี่เพราะมีรีวิวว่ามุมมองจากบนดาดฟ้าที่ทานอาหารของที่นี่สามารถมองเห็นทัชมาฮาลอย่างใกล้ๆเลย จึงไม่พลาดด้วยประการทั้งปวง
คืนนี้เดินทางอย่างเหนื่อยล้าทั้งเครื่องบินต่อแท็กซี่, รถไฟและมาจบที่ตุ๊กๆ แล้วพรุ่งนี้มาเริ่มวันใหม่ต่อด้วยการเที่ยวทิ้งท้ายที่ทัชมาฮาล
เริ่มเช้าของวันใหม่ในเมืองอักรา เราไม่รีรอที่จะขึ้นไปชมวิวทัชมาฮาลบนดาดฟ้าชั้น 3 ของโรงแรมนี้ และก็จริง สามารถมองเห็นวิวทัชมาฮาลได้แบบใกล้ๆเลย
ทานอาหารเช้าที่แสนจะนานของที่นี่เสร็จก็เดินเท้าไปหาทางเข้าทัชมาฮาลครับ วันนี้เราเบี้ยวลุงตุ๊กๆที่นัดเราไว้ 555 แต่ไม่เป็นไรเราจะเดินไปเองเพราะมันอยู่ใกล้ขนาดนี้ ระหว่างทางหน้าโรงแรมมีขบวนควายเดินประท้วงอยู่ครับ ขบวนยาวมากเลย
เข้ามาตรงซอยนี้ครับ ใครจะไปรู้ว่าซอยข้างหน้าแคบๆนี้จะเป็นทางเข้าไปยังทัชมาฮาล สถานที่อันโด่งดังเป็นมรดกของโลกด้วย กว่าจะหาเจอก็ต้องเดินหลงกันละครับ สองข้างทางจะเป็นร้านขายของที่ระลึก แวะชมก่อนเดี๋ยวขากลับจะมาเลือกซื้อกัน
ก่อนเข้าต้องฝากของกินก่อนนะครับ เจ้าหน้าที่ไม่ให้เอาเข้าไป และขาตั้งกล้องด้วย ส่วนกระเป๋าเงินกระเป๋ากล้องเข้าได้ เจ้าหน้าที่จะสแกนกระเป๋าก่อนแล้วให้แต่ละคนเปิดดูของข้างใน ค่าเข้าชม 2 คนรวม 1,020 รูปี ซึ่งคนไทยสามารถนำพาสปอร์ตไปแสดงแล้วจะได้ส่วนลดนะครับ อันนี้อย่าลืมเชียว
พอพ้นทางเข้ามาแล้ว มุมมองก็เป็นอย่างที่เห็น ตอนนี้แดดร้อนเอามากๆ เหงื่อไหลตลอดเลย
ต้องผ่านเข้าไปอีกประตูครับ
ลุ้นๆ ต่างคนต่างเดินเพื่อจะผ่านเข้าไปชมวิวสถาปัตยกรรมหินอ่อนสีขาวด้านใน
โมเม้นต์แรกที่เห็นทัชมาฮาลครั้งแรกถึงกับอึ้งครับ คนออทางเข้าค่อยๆกันเดินเข้าตามๆกันไป
และทัชมาฮาลแบบเต็มๆก็ได้เผยโฉมแล้ว โอ้วว สวยมากๆเลยครับ ไม่น่าเชื่อว่าจะได้มาเห็นกับตาตัวเอง
ดั้นด้นมาตั้งไกล เกือบจะยกเลิกกลางคันจากอุปสรรคต่างๆของเมื่อวาน ในที่สุดก็มาถึงจนได้ ดีใจที่สุดเลย
ขอถ่ายเล่นๆหน่อยนะจ๊ะ
ขอเล่าประวัติทัชมาฮาลกันหน่อยนะครับ
ทัชมาฮาล (ภาษาฮินดี : ताजमहल, ตาช มฮัล รากศัพท์เดิมมาจากภาษาอาหรับ ตาจญ์ (มงกุฎ) และ มะฮัล (สถาน) (ภาษาอาหรับ : تاج محل ) เป็นอนุสรณ์สถาน ตั้งอยู่ในเมืองอักรา ประเทศอินเดีย นับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่
ทัชมาฮาล สุสานหินอ่อนที่ผู้คนเชื่อว่าเป็นสถาปัตยกรรมแห่งความรักที่สวยที่สุดในโลก สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโมกุลผู้มีรักมั่นคงต่อพระมเหสีของพระองค์ เจ้าชายขุร์รัม ชึ่งต่อมาคือสมเด็จพระจักรพรรดิชาห์ชะฮัน
ตามตำนานกล่าวว่า พระองค์ได้พบกับอรชุมันท์ พานุ เพคุม ธิดาของรัฐมนตรี เมื่อพระองค์มีพระชนมายุ 14 พรรษา พระองค์ทรงหลงใหลและหลงรักนาง
เจ้าชายขุร์รัมจึงซื้อเพชรด้วยเงิน 10,000 รูปีและบอกแก่พระบิดาของพระองค์ว่าพระองค์มีความประสงค์ที่จะแต่งงานกับบุตรีของรัฐมนตรี พิธีเสกสมรสถูกจัดขึ้นหลังจากนั้น 5 ปี เมื่อพ.ศ. 2155 จากนั้นมาทั้งสองก็มิเคยอยู่ห่างกันอีกเลย
หลังจากที่สมเด็จพระจักรพรรดิชาห์ชะฮัน ขึ้นครองราชบัลลังก์ในปี พ.ศ. 2171 พระองค์มอบความไว้วางใจแก่ อรชุมันท์ พานุ เพคุม และเรียกนางว่า มุมตัซ มาฮาล "อัญมณีแห่งราชวัง" พระมเหสีติดตามพระองค์
แม้แต่ในสนามรบ แนะนำพระองค์ในเรื่องราชการของประเทศ และพระองค์ซาบซึ้งในน้ำพระทัยของพระมเหสียิ่งนัก ครั้นในปี พ.ศ. 2174 พระมเหสีมุมตัซสิ้นพระชนม์ หลังจากให้กำเนิดทายาทองค์ที่ 14 การสิ้นพระชนม์ของพระมเหสีทำให้สมเด็จพระจักรพรรดิชาห์ชะฮันโศกเศร้าอยู่ถึงสองทศวรรษ ราชสมบัติส่วนใหญ่สูญเสียไปเพื่อการสร้างอนุสรณ์แห่งความรักของทั้งสองพระองค์
พระองค์ถูกกักขังอยู่ถึง 8 ปี จนกระทั่งสวรรคตในปี พ.ศ. 2209 ตามตำนานกล่าวว่าให้วันสุดท้ายของชีวิตพระองค์ใช้เวลาทั้งวันในการจ้องมองเศษกระจกที่สะท้อนภาพของทัชมาฮาล และสิ้นพระชนม์ด้วยเศษกระจกในกำมือ พระองค์ถูกฝังในทัชมาฮาล เคียงข้างพระมเหสีซึ่งพระองค์ไม่เคยลืม
ด้วยความที่แดดร้อนมากๆ เรายกเลิกที่จะไปที่อื่นเช่น เบบี้ทัช และป้อมปราการอักรา เหลือเพียงเดินเล่นที่ทัชมาฮาลอย่างเดียวเท่านั้น เราเลือกนั่งที่ม้านั่งใต้ร่มเงาของต้นไม้บริเวณนี้ มองดูเจ้ากระรอกน้อยวิ่งเล่นหาอาหารกันไป
มีสนามหญ้าสีเขียวขจีแต่ห้ามเดินเข้าไป
จากประวัติ มีบางคนกล่าวว่าสมเด็จพระจักรพรรดิชาห์ชะฮัน มิได้ประสงค์ที่จะถูกฝังร่วมกับพระมเหสี แต่พระองค์มีแผนการที่จะสร้างสุสานอีกแห่งด้วยหินอ่อนสีดำ เพื่อเป็นสุสานของพระองค์ แต่ผู้รู้หลายท่านเชื่อว่าพระองค์ประสงค์ที่จะถูกฝังเคียงข้างพระนางมุมตัซ มาฮาล
ด้านข้างของทัชมาฮาลจะเป็นพิพิธภัณฑ์ข้างในจะมีกลิ่นอับๆ เลยเข้าไปได้ไม่นาน
กลับมานั่งหลบแดดต่อ ร้อนจริงๆ น่าจะเลย 40 องศาได้ ดูนกและกระรอกกันไป
แถวนี้ร่มเย็นสุดแล้ว ออกไปจากนี้บริเวณจะโดนแดดร้อนมากครับ บางคนถึงกับแลบลิ้นเลย 555
มุมด้านข้างทัชมาฮาล
มองกลับไปที่ประตูทางเข้า
ด้านหน้าทัชมาฮาลแบบใกล้ๆ สวยๆ
ตรงกลางบ้าง
เดินหามุมไปเรื่อยๆจะได้ไม่จำเจ แต่ร้อนมากอ่ะ :(
ได้เวลาเข้าไปชมด้านทัชมาฮาลกันแล้ว ต้องถอดรองเท้าไว้ข้างนอก ระวังหายด้วยนะครับ ด้านในจะเป็นที่ฝังพระศพทั้งสองพระองค์ ห้ามถ่ายรูปครับ เราจุงไม่มีรูปมาให้ชม แต่เดี๋ยวก่อน ชาวอินเดียที่เข้าไปไม่เคยปฏิบัติตามกฎข้อห้ามใดๆ ถ่ายมายังไม่พอแถมใช้แฟลชด้วยนะครับ เป็นงงเลย แต่ก็ไม่มีเจ้าหน้าที่คนไหนมาคอยห้ามปรามเลย
ตรงด้านข้างทัชมาฮาลฝั่งซ้ายมือ
ไม่กี่นาทีก็เดินออกจากการชมพระศพด้านใน ตรงนี้เป็นด้านหลังทัชมาฮาลฝั่งซ้ายมือครับ โดยด้านหลังของทัชมาฮาลจะเป็นแม่น้ำยามุนา(Yamuna River)
หลังจากเดินเที่ยวชมในทัชมาฮาลเกือบ 4 ชั่วโมง เราก็ออกมาหาอะไรทานรองท้องกัน เพราะวันนี้ยังไม่ได้ทานอาหารกลางวันเลย ได้ร้านนี้ที่อยู่ซอยเดียวกับโรงแรมคามาล เป็นร้านติดแอร์เพียงไม่กี่ร้านบริเวณย่านนี้ซะด้วย ไม่ลังเลที่จะเข้าไปนั่งเลย ร้อนมากๆครับ ร่างกายต้องการแอร์อย่างด่วนก่อนจะเป็นไปทั้งคู่ สั่งของกินเล่นกันคือมันฝรั่งทอด และน้ำ Lime Soda อีกเกือบ 10 ขวด เยอะมากๆ ทดแทนน้ำที่เสียไปกับเหงื่อในวันนี้
แฟนสั่ง Fruit Custard ครับ เห็นบอกว่าอร่อยดี ผมชิมไปนิดเดียวไม่ค่อยชอบทานเท่าไหร่ เราหมกในร้านนี้เพื่อฆ่าเวลารอรถไฟขากลับไปนิวเดลีเกือบชั่วโมงครึ่งด้วยกัน มื้อนี้หมดไป 325 รูปี
พอใกล้ๆเวลา 5 โมงเย็นเราก็ได้เวลาเคลื่อนย้ายไปสถานี Agra Cantt เพื่อไปรอรถไฟชั้นนอนที่จะออกเวลา 17.10 น. และจะไปถึงสถานีเดลีเวลา 20.45 น. เสียดายว่าบนรถไฟตู้นอนเราไม่ได้ถ่ายรูปมา โดยตั๋วที่เราจองมาทางเน็ตนั้นที่นอนแยกจากกันคนละโบกี้ ทำให้ฉุกละหุกทีเดียว แล้วมิหนำซ้ำ เรายังต้องเสียเงินเพิ่มบนรถไฟอีก เพราะนายตรวจบอกว่าได้มีการออกกฎใหม่เมื่อต้นเดือนกค. 2012 ที่ผ่านมาเรื่องราคาตั๋ว แต่ความเป็นจริงแล้ว ไม่ควรมาคิดราคากับผู้โดยสารเพิ่มเมื่อเขาได้จองไปก่อนหน้านี้แล้ว ผมว่าไม่ถูกต้องนะ น่าจะคิดตั้งแต่วันที่ประกาศราคาใหม่ ไม่ใช่คิดย้อนหลัง
ตอนจะถึงสถานีรถไฟเดลี ด้วยความที่รถไฟขบวนนี้ไม่ได้จอดที่สถานีเดลีเป็นสถานีสุดท้าย เราเองก็ไม่รู้ มารู้ตัวอีกทีเมื่อเห็นคนเดินลงจากรถไฟเกือบทั้งขบวนเลยเอะใจว่าที่ไหน พอทราบก็รีบลงแทบไม่ทันทีเดียว 555 [ในรูปเป็นสะพานข้ามรางรถไฟที่สถานีเดลี หลังจากรถไฟมาถึงสถานีเดลี]
เราแพลนว่าพอถึงสถานีเดลีแล้วจะต่อรถไฟสายเมโทร(รถไฟใต้ดินของอินเดีย)จากสถานีเดลีเช่นกันไปสถานีสนามบินอินทิราเลย จะได้ลองรถไฟ Airport Link ของอินเดียไปด้วย แต่แจ๊คพ็อตแตกอีกแล้ว เพราะพอเราลงไปที่สถานีใต้ดินของเดลี ขบวนที่จะไปสนามบินอินทิราอยู่ในช่วงปรับปรุงไม่เปิดให้บริการ!! เราเลยเดินกลับขึ้นมาแถวๆลานจอดรถสถานีรถไฟ แล้วเรียกแท็กซี่ไปสนามบินอินทิราแทน ราคาประมาณ 400 รูปี(จำราคาตรงๆไม่ได้แล้ว) [ในรูปเป็นลานจอดรถหลังจากออกจากสถานีรถไฟเดลีมาแล้ว]
รถแท็กซี่วิ่งประมาณ 45 นาทีก็มาถึงสนามบินอินทิราคานธี เวลาประมาณเกือบเที่ยงคืน ตอนนี้ง่วงนอนมากๆ ไฟล์ทเราจะออกเวลา 02.35 น. ก็ต้องหาที่นอนรอกันต่อไป สุดท้ายก็ได้เวลากลับบ้านเราแล้ว เครื่องบินใช้เวลาบิน 4 ชั่วโมงกว่า ก็มาถึงสนามบินสุวรรณภูมิประมาณ 8 โมงเช้าโดยสวัสดิภาพ ก็เป็นอันจบทริปอินเดียวแบบยาวๆ 12 วันด้วยกัน
สรุปค่าใช้จ่าย
1.ค่าตั๋วเครื่องบิน
-ไป-กลับ กทม.(สุวรรณภูมิ)-เดลี โดย +Cathay Pacific Airways 國泰航空 = 12,900 บาท x 2/2 คน
-จากเดลีไปเลห์ โดย +jetairways = 4,400 บาท x 2 + 2,000 บาท(เปลี่ยนวันเดินทาง) = 10,800 บาท/2 คน
-จากศรีนาการ์ไปเดลี โดย +jetairways = 2,595 บาท x 2/2 คน
รวมค่าตั๋วเครื่องบิน = 41,790 บาท/2 คน = 20,895 บาท/คน
2.ค่าที่พัก
-Ree Yul Hotel ที่เลห์ คืนละ 500 รูปี รวม 5 คืน + อาหารเช้า = 3,500 รูปี
-Snow Leopard ที่หมู่บ้าน Hundar = 1,260 รูปี
-Hotel City View Palace ที่เมืองแดรส = 600 รูปี
-Shelter Houseboat ที่ทะเลสาบดาล เมืองศรีนาการ์ แคชเมียร์ = 2,000 รูปี
-Hotel Kamal ติดทัชมาฮาลที่เมืองอักรา = 1,035 รูปี
รวมค่าที่พัก = 7,395 รูปี/2 คน หรือ 3,697.5 รูปี/คน
3.ค่าทำ Permit ไปทะเลสาบแปงกอง = 500 รูปี x 2/2 คน
4.ค่าเช่ารถไปเที่ยวสถานที่ต่างๆเมื่อไปถึงลาดักห์
วันแรกในเลห์ (หาเอง)
- Namgyal Tsemo Gompa -Leh Palace-Shanti Stupa = 750 รูปี
วันต่อๆมา (ให้ซาลิมจัดการให้)
- Sindhu Ghat - Shey Palace - Thiksey - Hemis - Stakna - Matho - Stock Palace
- Leh - Khardung La Pass - Nubra valley - Deskit - Hundar
- Hundar - Camel Riding - Sumur - Leh
- Leh - Chang La Pass - Pangong Lake - Leh
- Leh - Confluence of Zanskar & Indus river - Basgo Palace - Likir - Alchi - Moon Land - Lamayuru - Mulbekh (Maitreya Buddha) - Kargil - Drass
- Drass - Zoji La Pass - Sonamarg - Srinagar (House Boat)
รวมทั้งหมด = 750 + 29,000 = 29,750 รูปี/2 คน หรือ 14,875 รูปี/คน
ุ5.ค่าเข้าสถานที่ต่างๆ(ต่อ 2 คน)
1.ค่าตั๋วเครื่องบิน
-ไป-กลับ กทม.(สุวรรณภูมิ)-เดลี โดย +Cathay Pacific Airways 國泰航空 = 12,900 บาท x 2/2 คน
-จากเดลีไปเลห์ โดย +jetairways = 4,400 บาท x 2 + 2,000 บาท(เปลี่ยนวันเดินทาง) = 10,800 บาท/2 คน
-จากศรีนาการ์ไปเดลี โดย +jetairways = 2,595 บาท x 2/2 คน
รวมค่าตั๋วเครื่องบิน = 41,790 บาท/2 คน = 20,895 บาท/คน
2.ค่าที่พัก
-Ree Yul Hotel ที่เลห์ คืนละ 500 รูปี รวม 5 คืน + อาหารเช้า = 3,500 รูปี
-Snow Leopard ที่หมู่บ้าน Hundar = 1,260 รูปี
-Hotel City View Palace ที่เมืองแดรส = 600 รูปี
-Shelter Houseboat ที่ทะเลสาบดาล เมืองศรีนาการ์ แคชเมียร์ = 2,000 รูปี
-Hotel Kamal ติดทัชมาฮาลที่เมืองอักรา = 1,035 รูปี
รวมค่าที่พัก = 7,395 รูปี/2 คน หรือ 3,697.5 รูปี/คน
3.ค่าทำ Permit ไปทะเลสาบแปงกอง = 500 รูปี x 2/2 คน
4.ค่าเช่ารถไปเที่ยวสถานที่ต่างๆเมื่อไปถึงลาดักห์
วันแรกในเลห์ (หาเอง)
- Namgyal Tsemo Gompa -Leh Palace-Shanti Stupa = 750 รูปี
วันต่อๆมา (ให้ซาลิมจัดการให้)
- Sindhu Ghat - Shey Palace - Thiksey - Hemis - Stakna - Matho - Stock Palace
- Leh - Khardung La Pass - Nubra valley - Deskit - Hundar
- Hundar - Camel Riding - Sumur - Leh
- Leh - Chang La Pass - Pangong Lake - Leh
- Leh - Confluence of Zanskar & Indus river - Basgo Palace - Likir - Alchi - Moon Land - Lamayuru - Mulbekh (Maitreya Buddha) - Kargil - Drass
- Drass - Zoji La Pass - Sonamarg - Srinagar (House Boat)
รวมทั้งหมด = 750 + 29,000 = 29,750 รูปี/2 คน หรือ 14,875 รูปี/คน
ุ5.ค่าเข้าสถานที่ต่างๆ(ต่อ 2 คน)
-ค่าเข้า Shanti Stupa = 40 รูปี
-ค่าเข้า Shey Palace = 40 รูปี
-ค่าเข้า Thiksey Monastery = 60 รูปี
-ค่าเข้า Stock Palace = 50 รูปี/1 คน
-ค่าเข้า Diskit Gompa = 60 รูปี
-ค่าเข้า Samtanling Monastery = 20 รูปี
-ค่าเข้า Alchi Monastery = 100 รูปี
-ค่าเข้า Samtanling Monastery = 20 รูปี
-ค่าเข้า Alchi Monastery = 100 รูปี
-ค่าเข้า Lamayuru Monastery = 100 รูปี
-ค่าเข้า Taj Mahal = 1,020 รูปี
6.ค่าแท็กซี่/ตุ๊กตุ๊ก
-แท็กซี่จากสนามบินเลห์เข้าตัวเมืองเลห์ = 200 รูปี
-ตุ๊กตุ๊กจาก Shelter Houseboat ไปทะเลสาบดาล = 60 รูปี
-ค่าเข้า Taj Mahal = 1,020 รูปี
6.ค่าแท็กซี่/ตุ๊กตุ๊ก
-แท็กซี่จากสนามบินเลห์เข้าตัวเมืองเลห์ = 200 รูปี
-ตุ๊กตุ๊กจาก Shelter Houseboat ไปทะเลสาบดาล = 60 รูปี
-ตุ๊กตุ๊กจากทะเลสาบดาลกลับ Shelter Houseboat = 60 รูปี
-ตุ๊กตุ๊กจาก Shelter Houseboat ไปสนามบินศรีนาการ์ = รวมไปในค่าอาหารเย็นและเช้าแล้ว (1,500 รูปี)
-แท็กซี่จากสนามบินอินทิราคานธี เมืองเดลีไปสถานีรถไฟ NZM = 360 รูปี
-ตุ๊กตุ๊กจาก Shelter Houseboat ไปสนามบินศรีนาการ์ = รวมไปในค่าอาหารเย็นและเช้าแล้ว (1,500 รูปี)
-แท็กซี่จากสนามบินอินทิราคานธี เมืองเดลีไปสถานีรถไฟ NZM = 360 รูปี
-ตุ๊กตุ๊กจากสถานีรถไฟ Agra Cantt ไปที่พัก Hotel Kamal = 60 รูปี
-ตุ๊กตุ๊กจากที่พัก Hotel Kamal กลับสถานีรถไฟ Agra Cantt = 70 รูปี
-ตุ๊กตุ๊กจากที่พัก Hotel Kamal กลับสถานีรถไฟ Agra Cantt = 70 รูปี
7.ค่าตั๋วรถไฟ
-จากสถานีรถไฟ NZM เดลีไปสถานี Agra Cantt > 900 รูปี x 2/2 คน + ซื้อเพิ่ม = 520 รูปี/2 คน
-จากสถานีรถไฟ Agra Cantt กลับสถานี NZM เดลี > 900 รูปี x 2/2 คน + จ่ายเพิ่มตอนขึ้นรถไฟ = 356 รูปี
-จากสถานีรถไฟ NZM เดลีไปสถานี Agra Cantt > 900 รูปี x 2/2 คน + ซื้อเพิ่ม = 520 รูปี/2 คน
-จากสถานีรถไฟ Agra Cantt กลับสถานี NZM เดลี > 900 รูปี x 2/2 คน + จ่ายเพิ่มตอนขึ้นรถไฟ = 356 รูปี
8.ค่าอาหารและของฝาก และอื่นๆ = xxx รูปี
รวมทั้งหมด = 69,910.84 บาท/2 คน หรือ 34,955.42 บาท/คน
ใครอ่านมาถึงจุดนี้เห็นว่าข้อมูลทริปนี้ 9 ตอนด้วยกันเป็นประโยชน์ รบกวนช่วยลงชื่อด้วยครับ ส่วนถ้าใครมีคำถามเข้ามาสอบถามได้เลยครับ ขอบคุณที่ติดตามครับ สวัสดี
เห็นว่าบทความนี้น่าสนใจ รบกวนกดแชร์ด้วยครับ
ขอบคุณครับ
ตอบลบขอบคุณที่ติดตามครับ
ลบเป็นประโยชน์มากค่ะ จะไป ตค นี้ คร้า
ตอบลบขอบคุณนะคะ ข้อมูลดีงามมาก ๆ
ตอบลบด้วยความยินดีครับม
ลบมาตามรอยค่ะ ^^ จะไป พ.ค ปีหน้า จองตั๋วเรียบร้อย รบกวนขอข้อมูลเพื่อติดต่อ คุณซารีม หน่อยได้มั้ยค่ะ
ตอบลบได้ครับ
ลบซาลิม อีเมล
limbijal@rediffmail.com
SALEEM BIJAL
PROPRIETOR REE-YUL GUEST HOUSE
UPPER TUCKHA ROAD,ZANGSTI
LEH-LADAKH 194101
Mob +91-9622975939
Tel 01982-252911
ปล. พค.ไม่หนาวไปเหรอครับ เช็คข้อมูลเส้นทางไป nubra valley กับ ทะเลสาบแปงกองดีๆนะครับ ทางอาจปิดได้ครับ
ว้าววว ขอบคุณมากเลยค่ะ สำหรับคำแนะนำ และข้อมูลติดต่อค่ะ ^^
ลบ