วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2550

เที่ยวจังหวัดเลย ภาค 2 ตอน 1 ค น เ ห็ น ผี . . . ผี ห ล อ ก ค น ที่ อ . ด่ า น ซ้ า ย จ . เ ล ย


หลังจากที่กล้องผมออกอาการเอ๋อๆ ตอนกลับมาจากทริปเลตรัง ผมเองก็ยังไม่มีแม้เวลาจะเอากล้องดังกล่าวไปซ่อมที่ศูนย์แคนอน กอปรกับช่วงนั้นมีเรื่องหลายๆอย่างรุมเร้าเข้ามาในชีวิต เลยต้องขอพักการออกตะลอนไปชั่วขณะ ดังที่เพื่อนบางคนเห็นได้จากชื่อตอน sign in ที่ MSN ว่า "หยุดตะลอนไม่มีกำหนด" แต่โชคก็ยังพอที่จะเข้าข้างผมบ้าง อะไรหลายๆอย่างคลี่คลายไปด้วยดี ผมพอที่จะมีเวลาปลีกตัวไปข้างนอกบ้าง หลังจากที่เต็มใจอยู่บ้านงดเที่ยวมาเกือบ 2 เดือนเต็ม 

เล็งๆไว้คงหนีไม่พ้นงานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ของชาวด่านซ้าย จ.เลย ปีนี้ต้องไปให้ได้ เพราะไปมาแล้วตอนปี 48 เป็นงานประเพณีที่สนุกมาก ทั้งงานมีแต่เสียงหัวเราะ รอยยิ้มเปื้อนเต็มใบหน้านักท่องเที่ยวจากแดนไกลตลอดสองแก้ม น่าเสียดายที่ปีที่แล้วผมก็มีเรื่องทุกข์ใจอีก เลยไม่ได้ไปร่วมงานประเพณีปีที่แล้ว ปีนี้ก็คงต้องถ่ายโทษอีกเช่นเคย

ก่อนไปงานผีตาโขนครั้งนี้ นับได้ว่าเป็นงานที่ผมเตรียมอุปกรณ์ต่างๆอย่างครบครันเพื่อการนี้โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนซื้อ Inkjet Printer และกระดาษโปสการ์ดเพื่อมาพิมพ์โปสการ์ดที่ถ่ายจากฝีมือตัวเองครั้งที่ไปมาเมื่อสองปีก่อนมาเตรียมไว้เพื่อไม่ให้พลาดก่อนส่งกลับมา ไม่อยากจะแอบๆไปพิมพ์ที่บริษัทแล้ว เกรงใจจริงๆ และที่สำคัญกว่านั้นคือ ปีนี้ทางบริษัทไปรษณีย์ไทยได้เล็งเห็นว่าเป็นประเพณีที่ควรอนุรักษ์ไว้ เลยได้ฤกษ์พิมพ์สแตมป์ชุดงานประเพณีผีตาโขนขึ้นเป็นปีแรก มีจำหน่ายวันแรกคือวันเริ่มงานในวันที่ 23 มิถุนายน 2550 ถ้าโชคดีวันที่ไปนี้มีขาย เพื่อนๆที่จะได้รับโปสการ์ดจะได้โปสการ์ดที่ติดสแตมป์ชุดผีตาโขนนี้ไปด้วยเลย

โปสการ์ดก็ได้แล้ว สแตมป์ก็มีเตรียมไปแล้ว(กรณีไม่มีสแตมป์ผีตาโขนขาย)จะขาดก็แต่อุปกรณ์สำคัญที่สุดนั่นก็คือ กล้องถ่ายรูปนั่นเอง เพราะกล้องก็ยังไม่ซ่อม คงไม่มีใช้ทันงานแน่นอน ครั้นจะไปแบบไม่มีกล้องก็คงไม่ใช่ผมแน่นอน สู้ไม่ไปซะดีกว่า ทำอย่างไรดี เล็งๆไว้ก็ค่ายหนอนเหมือนเดิม ตัดสินใจอยู่หลายๆครั้ง จึงลงตัวเมื่อวันอาทิตย์ก่อนไปเพียง 1 สัปดาห์ สงสัยต้องลองกล้องใหม่ไปด้วยถ่ายไปด้วยหล่ะมั้งคราวนี้


ผมออกจากบ้านที่กรุงเทพเวลาประมาณ 02:50 น. เป็นอีกครั้งที่ลงทุนตื่นแต่มืดออกเดินทางซึ่งผมเองนั้นไม่ชอบการขับรถตอนกลางคืนเท่าใดนัก แต่ครั้งนี้เลี่ยงไม่ได้จริงๆ แต่การขับรถตอนดึกๆอย่างเวลานี้นั้น มีข้อดีตรงที่ถนนนั้นโล่งมากๆ ทำความเร็วได้ตลอด ขอเพียงขับรถอย่างมีสติ ไม่ประมาทก็พอแล้ว

เวลา 05:32 น. แสงแรกของวันใหม่เริ่มทาบขอบฟ้าแล้ว ขณะนั้นกำลังอยู่หล่มสักพอดี เลยได้จอดรถลองกล้องใหม่กับแสงแรกของวัน ดูซิว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไรบ้าง


ประมาณ 7:30 น. เราขับมาถึงหล่มเก่า เกจน้ำมันอยู่ในขีดเกือบแดงแล้ว พอดีเจอกับปั๊มน้ำมันปตท.ซึ่งอยู่เบื้องหน้า เลยได้เวลาพักรถพักคนเพื่อเติมน้ำมันเต็มถึงอีกครั้ง ก่อนจะมุ่งหน้าออกจากเพชรบูรณ์เพื่อเข้าเขตจังหวัดเลยต่อไป

ขับมาตอนกลางคืน แมลงตามท้องนาเยอะมาก เลยได้เศษของมันติดตามกระจกหน้ารถไปเที่ยวด้วย GPS GARMIN iQue 3600 บอกกับเราว่าจะไปถึงวัดโพนชัย อ.ด่านซ้าย วัดที่มีพิพิธภัณฑ์เรื่องราวผีตาโขน เวลาประมาณ 7:58 น.


เรามาถึงที่ลานจอดรถ อ.ด่านซ้าย จริงๆประมาณ 8:05 น. โดยรวมแล้วใช้เวลาเดินทาง กรุงเทพ(บางนา)-ด่านซ้าย = 5 ชม. 15 นาที

หน้ากากผีตาโขนอันแรกของปีนี้ที่ผมได้เก็บภาพซึ่งติดไว้ที่ร้านข้างทางสายที่ไปที่ทำการอ.ด่านซ้าย เส้นที่มีการละเล่นกัน


เดินตามไปถนนที่เขาจัดงานนั่นแหล่ะ ช่วงเวลามีงานทางตำรวจเขาก็จะกั้นไม่ให้รถเข้าออก มาปีนี้ เครื่องดื่มโค้กยังคงเหนียวแน่นที่จะเป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการเช่นเคย เห็นได้จากแผ่นผ้าที่อยู่ด้านบนเหนือศีรษะ


ปีนี้เรามาถึงเช้าเลยมีเวลาเดินชมพิพิธภัณฑ์ผีตาโขนที่อยู่ภายในวัดโพนชัย ไม่เหมือนกับปีก่อน ที่มาถึงก็ 10 โมงกว่าแล้ว ขบวนกำลังจะเดินพอดี


เข้ามาในวัดก็ขอกราบพระก่อนนะครับ


เข้าไปดูประวัติผีตาโขนที่พิพิธภัณฑ์ผีตาโขนในวัดกันครับ เพื่อที่ว่าจะได้ทำความเข้าใจถึงประวัติความเป็นมาว่าคืออะไรก่อนที่จะเริ่มงานแสดงกันจริงๆ


ที่นี่จะมีหน้ากากผีตาโขนหลากหลายลาย สร้างสรรค์ปั้นแต่ง


หน้ากากผีตาโขนนั้นทำมาจากต้นมะพร้าวซึ่งไม่แก่และไม่อ่อนเกินไป สวมศีรษะด้วยหวดนึ่งข้าวเหนียว


ที่นี่จะมีการสาธิตการทำหน้ากากผีตาโขนให้ดูฟรีด้วย โดยลุงคนเดิม(หรือเปล่า)


หุ่นผีตาโขนเท่าตัวจริง ยืนโชว์อยู่เรียงราย


ผีตนนี้ออกแนวสีสันสดใจ ชมพูหวานแหววเชียว


มาอ่านประวัติกันก่อนดีกว่า
กล่าวกันว่า การแห่ผีตาโขนเกิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระเวสสันดรและนางมัทรีจะเดินทางออกจากป่า กลับสู่เมืองบรรดาผีป่าหลายตนและสัตว์นานาชนิดอาลัยรักจึงพาแห่แหนแฝงตัวแฝงตน มากับชาวบ้านเพื่อมาส่งทั้งสองพระองค์กลับเมือง เรียกกันว่า "ผีตามคน" หรือ "ผีตาขน" จนกลายมาเป็น "ผีตาโขน" อย่างในปัจจุบัน

อีกตำนานหนึ่งกล่าวว่า
ต้นกำเนิดของพิธีผีตาโขนนี้ไม่ปรากฏเป็นที่แน่ชัด แต่ก็พอที่จะท้าวความไปยังตำนานทางพุทธศาสนา ได้ว่า ในชาติก่อนหน้าที่จะถือกำเนิดมาเป็นพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงถือกำเนิดเป็นเจ้าชาย ผู้เป็นที่รักยิ่งของ ทวยราษฎร์ ทรงพระนามว่า พระเวสสันดร กล่าวกันว่าพระองค์ทรงเสด็จออกนอกพระนครไปเป็นเวลานานเสีย จนเหล่าพสกนิกรของพระองค์ลืมพระองค์ไปแล้ว และยังคิดว่าพระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ไปเสียแล้วด้วยซ้ำไป แต่จู่ๆ พระองค์ก็เสด็จกลับมา พสกนิกรของพระองค์ต่างปลื้ม ปิติยินดีเป็นอย่างยิ่ง จึงพร้อมใจกันเฉลิมฉลองการ เสด็จกลับมาอย่างเอิกเกริกส่งเสียงดังกึกก้อง จนกระทั่งปลุกผู้ที่ตายไปแล้วให้มาเข้าร่วมสนุกสนานรื่นเริงไปด้วย


ชนิดของผีตาโขน
  ผีตาโขน ในขบวนแห่จะแยกเป็น 2 ชนิดคือ ผีตาโขนใหญ่และผีตาโขนเล็ก
  ผีตาโขนใหญ่ ทำเป็นหุ่นรูปผีทำจากไม้ไผ่สานมีขนาดใหญ่กว่าคนธรรมดาประมาณ 2 เท่าประดับตกแต่งรูปร่างหน้าตาด้วยเศษวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เวลาแห่ คนเล่นจะต้องเข้าไปอยู่ข้างในตัวหุ่น แต่ละปีจะทำผีตาโขนใหญ่เพียง 2 ตัว คือผีตาโขนชาย1ตัวและหญิง1ตัว สังเกตจากเครื่องเพศปรากฏชัดเจนที่ตัวหุ่น ผู้มีหน้าที่ทำผีตาโขนใหญ่จะมีเฉพาะกลุ่มเท่านั้น เพราะคนอื่นไม่มีสิทธิ์ทำ การทำก็ต้องได้รับอนุญาตจากผีหรือเจ้าก่อน ถ้าได้รับอนุญาตแล้วต้องทำทุกปีหรือทำติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปี
  ผีตาโขนเล็ก ผีตาโขนเล็กเป็นการละเล่นของเด็ก ไม่ว่าเด็กเล็ก เด็กวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ ทั้งผู้หญิงชาย มีสิทธิ์ทำและเข้าร่วมสนุกได้ทุกคน แต่ผู้หญิงไม่ค่อยเข้าร่วมเพราะเป็นการเล่นค่อนข้างผาดโผนและซุกซน


พอเกือบสิบโมงเราก็เดินออกมาจากวัดโพนชัย เพื่อเดินไปตามถนนที่จัดตั้งขบวนผี แต่แล้วขบวนผีชุดดำก็เดินมาเป็นขบวนมาจริงๆ


ยังไม่ทันสิบโมงเช้า คนก็มายืนรอดูกันตรึมเลย กล้องก็มาบันทึกรายการด้วย


ยังไม่เริ่มพิธีเปิด เลยเดินไปดูของฝากที่ระลึกที่ฝั่งตรงข้ามก่อนดีกว่า ไปทางไหนก็เจอแต่หน้ากากผีตาโขนมาแสดงโชว์


ของที่ระลึก หน้ากากผีตาโขนขนาดเล็ก น่ารักเชียว


เดินกลับมาดูขบวนแห่กันบ้าง ที่เห็นน่าจะเป็นนางมัทรีกับพระเวสสันดร พอเห็นผมยกกล้องขึ้นซูมเหมือนกับรู้เลย หันหน้ายิ้มให้กล้องผมอยู่นานเลย ต้องขอขอบคุณจริงๆ และผมก็ได้ภาพที่ชัดออกมาด้วย ถือว่าแลกกันครับน้อง


สงสารน้าๆทั้งสามจังเลย ทาผิวดำแล้วยังไม่พอ ยังจะต้องยืนตากแดดเกือบชม.อีก


ขณะตั้งขบวน ผีแต่ละตัวก็เต้นไปตามจังหวะดนตรีภาคอีสานที่สนุกสนาน


กำลังมันส์


แอบบแคนดิดหน้ากากผีตาโขนที่สาวชาวญี่ปุ่นชอบจนถือแนบไว้กับตัว


ผีสองตนนี้กำลังเต้นไปตามจังหวะเสียงเพลงเช่นเดียวกัน


งานยังไม่เปิดชาวบ้านก็สนุกกันแล้ว ในรูปเป็นคนสวยควายสะบัดไปมาสุดเหวี่ยง


น่ากลัวจัง


ผีตนนี้สีชมพู มีสักยันต์ตรงหน้ากากด้วยนะ


แล้วผมก็เดินเข้าไปถ่ายรูปที่สนามหญ้าหน้าโรงเรียนชุมชนบ้านด่านซ้าย เป็นจังหวะพอดีที่เครื่องบินปล่อยนักโดดร่มลงมาทำพิธีเปิด


เลื่อนลงมาเรื่อยๆ


ผีก็ผีเหอะ สนใจนักโดร่มเหมือนกับคนด้วยนะเนี่ย


กลับมาดูขบวนกันอีก ผีจากช่องแอร์ถือลูกตัวน้อย


ผีอีกตน กับท่าอุ้มลูก


มองหน้าหาเรื่อง


ต่อไปไม่บรรยายแล้วนะครับ โพสต์รูปอย่างเดียว ดูเพลินๆ


หมู่นี้ผีตาโขนอุ้มลูกมาเยอะจัง


ลวดลายหน้ากากอันนี้สวยจริงๆ


อีกกลุ่มหนึ่ง


เดินเข้ามาจะทำร้ายหรือเปล่าเนี่ย


ดิ้นๆ


แหม....โชว์อาวุธเชียวน้า


หมากกะแหล่ง คือกระพวนหรือกระดิ่งที่ห้อยด้านท้ายของผีตาโขนเพื่อให้เกิดเสียงเมื่อเดินไปมา เข้ากับจังหวะดนตรี


ผีเด็กเป็นสีสันของงานทุกปี


ในที่สุดก็ได้ฤกษ์เดินขบวนซะที หลังจากรอจนตัวดำแล้ว


ชุดนี้ตลกดี ผู้หญิงใส่แว่นดำยิ้มฟันขาวไม่ใช่คนนะครับ เป็นหุ่น


มาแล้ว ผีตาโขนใหญ่ เพศหญิง


ส่วนนี่ ทั้งชายและหญิง


โดนผีเล็งเป้า....หึหึ


โทนชมพูแดง


...


..


ง่วงนอน.....z.zzz.....zzzz....zz


ผีโดเรมอน


รวมมิตร


จมูกโง้งยาว สวยงามดีครับ


ผีเด็กอีกแย้ววว แต่ดูหน้ากากจะใหญ่กว่าตัวมากนะ


.


ขอแง้มมาดูโลกภายนอกหน่อยนะคร้า.....ข้างในร้อนและอบจังเลยย


ผีแดงโพสต์ท่าให้ถ่าย


เหนื่อยหรือเมื่อยกันเนี่ย...


...


..


ใกล้หมดยังเนี่ย


ผีเด็กอีกแล้ว


ฉายเดี่ยว


ทำไมครั้งนี้ลูกผีตาโขนไม่เหมือนกับพ่อเลยแฮะ


ผีคู่นี้สีเหลือง intrend เชียว


ตุ๊กตาผีตาโขนตัวนี้ตีกลองได้ด้วยนะ


โห....อาวุธน่ากลัวเจรงๆ


ในบรรดาหน้ากากผีตาโขนทั้งหมด ผมชอบสีแดงที่สุด ให้ภาพที่สีสันสดใส ได้ใจมากๆ


และแล้ว งานเลี้ยงก็มีวันเลิกลา.....ผีตาโขนทะยอยเดินกลับไปที่วัดโพนชัย แต่ก็ยังสนุกกันต่อ ส่วนนักท่องเที่ยวต่างก็ทะยอยกันกลับจนรถติดขาที่จะไปภูเรือ สักพักฝนเจ้ากรรมก้ดันตกลงมา ดีนะเนี่ยที่งานจบพอดี ไม่งั้นจบเห่แน่ ทั้งช่างกล้องทั้งผีทั้งหลาย

ส่วนเราทั้งสองเห็นว่ารถติดเลยหาร้านก๋วยเตี๋ยวนั่งทานไปพลางๆพร้อมกับเขียนโปสการ์ดและติดสแตมป์ชุดผีตาโขน ซึ่งปรากฏว่ามีขายจริงๆด้วย ชุดละ 110 บาท พอเขียนเสร็จก็กลับเข้าไปที่หน้าที่ว่าการอำเภอใหม่ ไปส่งโปสการ์ดพร้อมกับซื้อเสื้อผีตาโขนมาใส่ ซึ่งปีก่อนก็ซื้อไป(จริงๆแล้วผมก็ใส่เสื้อปี 48 ไปงานแหล่ะ) ซื้อพวงกุญแจและแก้วลายผีตาโขน ต่อจากนั้นเปลี่ยนแผนยังไม่แวะพระธาตุศรีสองรัก โดยไปที่เชียงคานแทน แล้วค่อยมาชมบรรยากาศเชียงคานกันอีกครั้งในกระทู้หน้าครับ

ขอขอบคุณเพื่อนๆที่เข้ามาอ่าน และแสดงความคิดเห็นกัน กระทู้นี้อาจจะอืดไปหน่อยเพราะต้องการจบรูปผีตาโขนภายในกระทู้เดียว และรบกวนใครที่ได้รับโปสการ์ดเข้ามาลงชื่อในกระทู้นี้เมื่อได้รับถึงมือแล้วครับ ขอบคุณครับ (_/\_)


เห็นว่าบทความนี้น่าสนใจ รบกวนกดแชร์ด้วยครับ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น